การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่งในจังหวัดลำปาง
by ศรีสมภพ กองสุข
Title: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่งในจังหวัดลำปาง |
Other title(s): | Public participation in prevention and solution of haze from open burning in Lampang Province |
Author(s): | ศรีสมภพ กองสุข |
Advisor: | จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.60 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยความสําเร็จ ปัญหา/อุปสรรคเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควนจากการเผาในที่โล่งจังหวัดลำปางโดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน จังหวัดลำปาง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหมอกควนในจังหวัดลำปางมีสาเหตุจากกิจกรรมการเผาในที่โล่ง ของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของ จังหวัดลำปางซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะซึ่งเอื้อต่อการการสะสมของมลพิษทางอากาศ ทั้งนี้จากการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนน้ันมีกระบวนการเริ่มต้นการดำเนินกิจกรรมในเวลาที่เหมาะสม มีความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย มีความจริงใจในการดำเนินกิจกรรม และมีการคำนึงถึงความเหมาะสมของทรัพยยากรในการดำเนินกิจกรรม โดย รูปแบบการมีส่วนร่วม พบว่า มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การระบุสาเหตุของปัญหาร่วมแสดงความคิดเห็น วางแผน ร่วมปฏิบัติและประเมิลผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ความตระหนกและจิตสำนึก ของประชาชนในพื้นที่ความคาดหวังในผลประโยชน์ที่พึงมีร่วมกันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัญหาและผลกระทบของปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่งทั้งจากการมีประสบการณ์ตรงหรือ รับรู้จากสื่อประชาสัมพันธ์ และศักยภาพของผู้นำชุมชน ในส่วนของปัญหา/อุปสรรคของการมีส่วนร่วม ได้แก่การจัดการกับผู้มีส่วนได้เสียนอกพื้นที่การขาดแคลนงบประมาณ บุคลากรและ อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสม |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | หมอกควัน -- ไทย (เหนือ)
หมอกควัน -- ไทย -- ลำปาง มลพิษทางอากาศ หมอกควัน -- การป้องกันและควบคุม |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 229 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5348 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|