• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

by มนัสนันท์ พิบาลวงค์

Title:

การจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

Other title(s):

Expired/damaged solar cell management: a case study of Ubonratchatanee Province

Author(s):

มนัสนันท์ พิบาลวงค์

Advisor:

วิสาขา ภู่จินดา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2016.62

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งานใน พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและเสนอแนะแนวทางการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน โดยทำการศึกษากับผู้ใช้งานแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีทั้งหมด จำนวน 406 คน แบ่งเป็น ผู้สนใจขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน 196 คน และผู้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาไว้สำหรับใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จำนวน 210 คน ประชากรที่ทำการศึกษา ทั้งหมด 376 คน คิดเป็นร้อยละ 92.61 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยผลการศึกษา พบว่า สถานที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทั้งหมดเป็นการติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือน ร้อยละ100การใช้ประโยชน์จากแผงโซล่าเซลล์เกินกว่า กึ่งหนึ่งเป็นการใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใน ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 55.85 ทั้งนี้ชนิดของแผงโซล่าเซลล์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้งาน ได้แก่แผงโซล่าเซลล์ชนิดสารกึ่งตัวนำ อื่นที่มิใช่แผงโซล่าเซลล์ที่ทำจากซิลิคอนผลึกเดี่ยวและแผงโซล่าเซลล์ที่ ทำจากอะมอร์ฟัสซิลิคอน คิดเป็น ร้อยละ 93.36 อายุการใช้งานของแผงโซล่าเซลล์เฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 ปี ผู้ใช้งานแผงโซล่าเซลล์มีความรู้ด้านการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน อยู่ในระดับ มากคิดเป็นร้อยละ 94.14 มีระดับ ทัศนคติด้านการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน อยู่ ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 60.90 ทั้งนี้พบว่าผู้ใช้งานแผงโซล่าเซลล์มีการจัดการแผงโซล่า เซลล์อย่างไม่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 55.86 กล่าวคือ ไม่มีการจัดการแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ ประกอบแผงที่หมดอายุการใช้งานและไม่มีการคัดแยกแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ประกอบแผง สำหรับการเก็บรวบรวมแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์แผงที่หมดอายุการใช้งานก่อนส่งไปกำจัด ส่วนใหญ่ดำเนินการเก็บรวบรวมโดยกองทิ้งไว้เฉยๆ บนหลังคาคิดเป็นร้อยละ 99.52 ส่วนผู้ใช้งานแผง โซล่าเซลลท์ที่มีการจัดการแผงโซล่าเซลลอ์ย่างเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ44.14 ซึ่งการคัดแยกการเก็บรวบรวม การขนส่งและการกำจัดแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน จะถูกจัดการโดยส่งคืน บริษัท ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ซึ่งผลการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่ หมดอายุการใช้งาน ด้วย SWOT Anlysis สามารถนำ ไปสู่แนวทางการเสนอแนะที่เกี่ยวกับการ จัดการแผงโซล่าเซลลท์ ที่หมดอายุการใช้งาน เช่น 1)การจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน ควรอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ใช้งานแผงโซล่าเซลล์ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์หน่วยงานรับบำบัด กำจัด และภาครัฐ 2) ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการ ใช้งานควรมีการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน 3)ควรมีงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งานโดยตรง เช่น กรมควบคุมมลพิษ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงาน เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งานและประสานงานระหว่างผู้ใช้งานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา
Solar cells

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

137 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5351
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b194268.pdf ( 1,978.09 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [91]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×