การพัฒนาคุณภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของโรงงานเอทานอลโดยการผสมกากมันสำปะหลัง ผักตบชวา และน้ำเสียจากฟาร์มสุกร
by ดำเนินทราย ทรัพย์ไพศาล
Title: | การพัฒนาคุณภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของโรงงานเอทานอลโดยการผสมกากมันสำปะหลัง ผักตบชวา และน้ำเสียจากฟาร์มสุกร |
Other title(s): | Development of biogas production using mixed resources cassava, water hyacinth and water mixed with swine wastewater |
Author(s): | ดำเนินทราย ทรัพย์ไพศาล |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.57 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
น้ำวีนัสเป็นน้ำ เสียจากการผลิตเอทานอลมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จากเป้าหมายการใช้เอทานอลที่สูงขึ้นตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ปี2558-2579 ดังนั้น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการทำการทดลองหมักน้ำ วีนัส ด้วยของผสม 3 ชนิด คือ กากมันสำปะหลัง ผักตบชวา และน้ำเสียจากฟาร์มสุกร เพื่อศึกษาความเหมาะสมของชนิดของของผสม และอัตราส่วนของการผสมโดยทำการหมักของผสมในอัตราส่วนที่ร้อยละ10, 30 และ50 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ค่าความ เป็นกรดด่างเริ่มต้น ให้อยู่ในช่วง 6.5 – 7.5 และทำการหมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 40 วัน แล้วนำก๊าซที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ปริมาณก๊าซมีเทน และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์จากการทดลองพบว่า การผสมกากมันสำปะหลังกับ น้ำวีนัสจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นโดยส่งผลให้ได้ ปริมาณก๊าซมีเทนที่สูงขึ้น และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ลดลง ส่วนการผสมผักตบชวากับ น้ำวีนัส นั้น ให้ผลที่ดีเมื่อผสมผักตบชวามีสัดส่วนอยู่ที่ ร้อยละ50 ซึ่งทำให้ได้ก๊าซมีเทนที่สูงขึ้น และปริมาณ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ต่ำ สำหรับการผสมน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ร้อยละ 30 ช่วยลดการเกิดก๊าซ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้แต่ต้องผสมที่ร้อยละ 50จึงจะสามารถให้ความเข้มข้นของก๊าซมีเทนที่สูงขึ้น โดยสรุป การหมักแบบผสมของน้ำวีนัสกับกากมันสำปะหลัง ผักตบชวาและน้ำ เสียจากฟาร์มสุกร สามารถปรับปรุงคุณภาพของก๊าซชีวภาพได้เมื่อเปรียบเทียบของผสมทั้ง 3 ชนิดพบว่า ผกัตบชวาที่ ร้อยละ 50 ให้ผลดีที่สุดคือได้ปริมาณก๊าซมีเทน 852,579 ppm และ เกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์น้อยกว่า 0.01 mg/m3 ผล COD พบว่าการผสมผักตบชวาที่ร้อยละ 50 ทำให้ค่า COD ภายหลังจากการหมัก เหลืออยู่ต่ำที่สุดที่ 37,240 mg/L |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | อุตสาหกรรมก๊าซชีวภาพ
น้ำเสีย -- การนำกลับมาใช้ใหม่ แหล่งพลังงานทดแทน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 80 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5352 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|