กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน
by วลัญช์ภัทร จียังศุวัต
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Process of changes in folk media “Fawn Leb/Fawn Tian” |
ผู้แต่ง: | วลัญช์ภัทร จียังศุวัต |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | พรพรรณ ประจักษ์เนตร |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2016.21 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน” มี วัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางองค์ประกอบของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาทของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 16 ท่าน ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จำนวน 3 ท่าน ปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 2 ท่าน นักเรียน ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จำนวน 5 ท่าน และกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวน 6 ท่าน และการสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) จากงาน 720 ปี เชียงใหม่ คุ้มขันโตกศูนย์ วัฒนธรรมและวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ผลการวิจัยแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน ดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงทางองค์ประกอบของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนเป็นการ เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในส่วนของกระพี้และเปลือกเท่านั้น ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ เกิดในส่วนของกระพี้มากที่สุด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนท่าที่ต้องปรับให้ทันกับเวลา และนำบางท่าไปพัฒนาเป็นฟ้อนแบบใหม่ ด้านเครื่องแต่งกายเกิดจากการออกแบบโดยผู้จัดงาน เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ด้านเครื่องประดับ โดยหลักแล้วจะใช้ดอกเอื้อง แต่มีการปรับใช้ดอกไม้ปลอมหรือดอกไม้ชนิดอื่นแทน ด้านอุปกรณ์การแสดงเล็บและเทียนยังคงใช้แบบเดิมเพื่อรักษาเอกลักษณ์เอาไว้ แต่บางสถานที่ไม่อนุญาตให้จุดเทียนได้จึงต้องใช้วัสดุที่คล้ายกับไฟ ฉายแทนด้านดนตรี ในอดีตจะใช้วงกลองตึ่งโนงเป็นการแห่สด ซึ่งปัจจุบันจะใช้แผ่นซีดีแทน เนื่องจากหาคนที่มีความชำนาญทางด้านดนตรียากขึ้น และเริ่มมีการปรับใส่เนื้อหาเพลงลงไป สำหรับการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเปลือกมีเพียงด้านเดียวคือด้านการแปรขบวน ที่สามารถ ปรับเปลี่ยนได้อยู่ตลอดขึ้นอยู่กับรูปแบบของสถานที่ การออกแบบสร้างสรรค์ไม่มีรูปแบบตายตัว 2) รูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามกระแสสังคม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางบทบาทสื่อ พื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน ปัจจุบันบทบาทด้านการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างคนกับ พระพุทธศาสนาลดลง โอกาสในการแสดงการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนส่วนมากจะเป็นงานที่เกี่ยวกับ การแสดงของล้านนา การให้ความบันเทิง บทบาทด้านการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการ ท่องเที่ยว สำหรับบทบาทที่ยังคงอยู่ตลอด คือ บทบาทด้านการสร้างความสามัคคี 3) การเปลี่ยนแปลงของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ คน สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | สื่อพื้นบ้าน--ไทย
การรำ -- ไทย |
คำสำคัญ: | การฟ้อนเล็บ
การฟ้อนเทียน |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 157 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5367 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|