กลยุทธ์การสื่อสารช่อง Gutumdai เพื่อสร้างรายได้ผ่านเว็บไซต์ Youtube ในรูปแบบรายการโทรทัศน์
by อิศราวุฒิ กิจเจริญ
ชื่อเรื่อง: | กลยุทธ์การสื่อสารช่อง Gutumdai เพื่อสร้างรายได้ผ่านเว็บไซต์ Youtube ในรูปแบบรายการโทรทัศน์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Communication strategy of gutumdai channel for profit-making through Youtube in TV program format |
ผู้แต่ง: | อิศราวุฒิ กิจเจริญ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2016.133 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยในคร้ังนี้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาถึงกลยุทธ์การสื่อสารของผู้ผลิตช่อง Gutumdai เพื่อสร้างรายได้ผ่านเว็บไซต์Youtube ในรูปแบบรายการโทรทัศน์ โดยมีจุดประสงค์ ดังนี้1) เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์และทัศนคติในการสื่อสารเพื่อสร้างรายได้ผ่านเว็บไซต์Youtube ใน รูปแบบรายการโทรทัศน์ 2) เพื่อศึกษาถึงที่มาของรายได้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ผ่านเว็บไซต์ Youtube จากโปรแกรมพันธมิตร Youtube 3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการสร้างรายได้ ผ่านเว็บไซต์ Youtube โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผส ม (Mixed Method) การวิจัยเชิงคุณ ภาพ (Qualitative Research) แบ่งออกเป็น 2 วิธีในการเก็บข้อมูล ได้แก่การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก(InDepth Interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลคือผู้ผลิตรายการภายในช่อง 2 คน และการวิเคราะห์ตัวบทของ รายการ (Textual Analysis ) ในส่วนของการวิจยัในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการรับชมรายการช่อง Gutumdai โดยใช้ตาราง ถอดรหัส (Coding Sheet) ในการเก็บข้อมูล และ รายงานจากโปรแกรม Youtube Analytics ช่อง Gutumdai ซึ่งระยะเวลาในการเก็บข้อมูลอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยเชิงพบว่า ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ช่อง Gutumdai มีทัศนคติต่อสื่อออนไลน์และ Youtube ในเชิงบวกโดยพบเห็นว่า Youtube สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับตนได้และสามารถทำให้ รายการที่ตนผลิตออกไปสู่สายตาผู้ชมได้ง่ายกว่าสื่อเก่า (Traditional Media) อีกทั้งสามารถสร้าง รายได้ให้กับผู้ผลิตและยังพบว่าเนื้อหารายการภายในช่องส่วนใหญ่นั้น ยึดข้อเท็จจริง (Facts) และ ข้อมูลจากผู้ชมเป็นแกนหลักในการนำเสนอ 2 ทาง คือ การโหวต (Vote) และความคิดเห็น (Comment) โดยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างรายได้ที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารของช่อง Gutumdai มี 4 กลยุทธ์ คือ 1) การนำเสนอเนื้อหามีลักษณะส้ันเรียบง่าย (Keep it Short and Simple) 2)การนำ เสนอเนื้อหาในรายการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ช ม 3)การนำเสนอเนื้อหาที่กำลังเป็นที่พูดถึง หรือ Talk of the Town ในขณะนั้น 4)การให้ความบันเทิงและสนุกแก่ผู้ชมโดยใช้ผู้ดำเนินรายการที่ มีชื่อเสียง ซึ่งทำให้เกิดรายได้จากโปรแกรมพันธมิตร Youtube ให้กับผู้ผลิต 2 ส่วน ได้แก่รายได้ จากโฆษณา และรายได้จาก Paid Subscription โดยผู้ผลิตได้รับรายได้จากโฆษณามากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 99.9 และรายได้จาก Paid Subcription มีเพียงร้อยละ 0.01 เท่าน้ัน โดยพบว่าประเภทของ โฆษณาที่สร้างรายได้มากที่สุด 3 อันดับ คือ โฆษณาวีดีโอแบบข้ามได้ในรูปแบบประมูล โฆษณา แบบดิสเพลย์ในรูปแบบประมูล และ โฆษณาวีดีโอแบบข้ามได้ในรูปแบบสงวนไว้ ตามลำดับ และ พบว่าประเทศที่สามารถสร้างรายได้ให้ช่อง Gutumdai มากที่สุ ด 3 อันดับคือ ประเทศไทย, สหรัฐอเมริกา เกาหลีและการสร้างรายได้จาก Paid Subscription สามารถสร้างรายได้จากผู้ชมใน ประเทศสหรัฐอเมริกาเท่าน้ัน และพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคในการสร้างรายได้3 ข้อ คือ 1)อุปกรณ์ในการผลิตรายการโทรทัศ น์ที่มีไม่เพียงพอในช่วงเริ่มแรก 2)ความคิดสร้างสรรค์ที่จะ ผลิตรายการตอนใหม่ๆที่จะหมดไป 3)การตรวจสอบลิขสิทธ์ิจากระบบ Content ID ที่ไม่ชัดเจน |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | กลยุทธ์การสื่อสาร
ยูทูบ (บริการออนไลน์) รายการโทรทัศน์ |
คำสำคัญ: | การสร้างรายได้ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 137 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5390 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|