การศึกษาผลกระทบของปัจจัยในการใช้งาน AGV ต่อประสิทธิภาพของระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง
by จักรพันธุ์ สุริยกุล ณ อยุธยา
Title: | การศึกษาผลกระทบของปัจจัยในการใช้งาน AGV ต่อประสิทธิภาพของระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง |
Other title(s): | Effects of factors in the use of AGV on job shop production system performance |
Author(s): | จักรพันธุ์ สุริยกุล ณ อยุธยา |
Advisor: | พัชราภรณ์ เนียมมณี, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
Degree department: | คณะสถิติประยุกต์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2012 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2012.41 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาถึงผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการ ควบคุมรถขนถ่ายอัตโนมัติ(Automated Guided Vehicle ; AGV) ในระบบการผลิต โดยวิธีการ สร้างแบบจำลองปัญหาด้วยโปรแกรม Arena ร่วมกับวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล โดยผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยในการควบคุมรถ AGV ที่ส่งผลกระทบต่อขนาดรถและกฎเกณฑ์การ ควบคุมรถ AGV โดยขนาดรถ AGV ประกอบด้วย 2 ปัจจัยคือ จำนวนรถ AGV และความจุของรถ AGV ส่วนกฎเกณฑ์การควบคุมรถ AGV ประกอบด้วย 2 กฎคือ กฎเกณฑ์การวางชิ้นงาน และ กฎเกณฑ์การหยิบชิ้นงาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะถูกนำไปศึกษา เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบจากปัจจัย เหล่านี้ โดยใช้ค่าวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบจำนวน 5 ประเภท ได้แก่ เวลาเฉลี่ยที่สินค้า อยู่ในระบบ ผลผลิตที่ได้รับ เวลาเสร็จเร็วกว่ากำหนดรวม เวลาเสร็จช้ากว่ากำหนดรวม และ ประสิทธิภาพการใช้งานรถ AGV จากการศึกษาพบว่าทั้ง 4 ปัจจัยส่งผลกระทบต่อค่าวัด ประสิทธิภาพทั้ง 5 ประเภทอย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มจำนวนรถ AGV และความจุของรถ AGV ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้รับและเวลาเสร็จเร็วกว่ากำหนดรวมเพิ่มขึ้น ในขณะที่เวลาเสร็จช้ากว่ากำหนด รวม เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการผลิต และค่าวัดประสิทธิภาพการใช้งาน AGV ไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากปริมาณงานของระบบมีจ านวนมาก ส่วนการหยิบและวางชิ้นงานหากใช้กฎเวลาผลิต สถานีต่อไปสั้นสุด (Shortest Processing Next Station Time ; SPNT) จะส่งผลที่ดีกว่ากับค่าวัด ประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ยเวลาอยู่ในระบบ จำนวนผลผลิต และ เวลารวมงานที่ผลิตเสร็จก่อนเวลาส่ง มอบ แต่จะส่งผลเสียกว่ากับค่าวัดผลเวลารวมงานที่ผลิตเสร็จช้ากว่าเวลาส่งมอบ ส่วนค่าวัดผล ประสิทธิภาพการใช้งานรถ AGV กฎเกณฑ์การวางชิ้นงานแบบมาก่อนรับบริการก่อน (First Come First Serve; FCFS) จะให้ส่งผลที่ดีกว่า แต่กฎเกณฑ์การหยิบชิ้นงานทั้ง 2 กฎนั้นให้ผลลัพธ์ไม่ แตกต่างกัน กรณีสนใจเฉพาะตัววัด Mean Flow Time และ Throughput เป็นหลัก ทางโรงงาน สามารถพิจารณาใช้กฎ Drop Rule 2 โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดความจุของรถโดยในการวิจัยครั้งนี้จะทำการทดลองที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012 |
Subject(s): | ระบบขนส่งอัจฉริยะ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 133 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/540 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|