การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
165 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193292
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศิธาพิสุทธ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร (2015). การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5417.
Title
การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Awareness, attitude and behavior of construction workers in Bangkok towards "quit smoking" messages
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยเรื่อง การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อ รณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อศึกษาการ รับรู้ข่าวสารผ่านสื่อของกลุ่มแรงงานก่อสร้างในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการรณรงค์เลิกสูบบุหรี่ (2) เพื่อศึกษาทัศนคติของกลุ่มแรงงานก่อสร้างในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการรณรงค์เลิกสูบบุหรี่ (3) เพื่อศึกษาทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร การ ศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย ทั้งชายและหญิงเฉพาะผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีโควต้า และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อรณรงค์เลิกสูบบุหรี่มากที่สุด ได้แก่ สื่อภาพและข้อความบนซองบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 14.6 รองลงมาคือสื่อป้ายสติ๊กกอร์คิด เป็นร้อยละ 14.4 และสื่อโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 13.9 และสื่อบุคคลในที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 4.6 มีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อรณรงค์เลิกบุหรี่น้อยที่สุด และกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่มีต่อ ข่าวสารผ่านสื่อรณรงค์เลิกสูบบุหรี่มากที่สุด ได้แก่ สื่อโทรทัศน์คิดเป็นร้อยละ 4.11 รองลงมาสื่อ ป้ายสติ๊กเกอร์ คิดเป็นร้อยละ 3.90 สื่อโปสเตอร์คิดเป็นร้อยละ 3.89 และสื่อภาพและข้อความ บนซองบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 3.45 มีทัศนคติที่มีต่อข่าวสารผ่านสื่อรณรงค์เลิกสูบบุหรี่น้อยที่สุด ส่วนด้านทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรมเลิกสูบบุหรีมากที่สุด ได้แก่ สื่อบุคคลในครอบครัว คิดเป็น ร้อยละ 3.41 รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์คิดเป็นร้อยละ 3.30 สื่อภาพและข้อความบนซองบุหรี่ คิด เป็นร้อยละ 3.25 และสื่อโทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 2.99 มีผลต่อพฤติกรรมในการเลิกสูบ บุหรี่น้อยที่สุด ข้อเสนอแนะการรณรงค์กลุ่มแรงงานก่อสร้างควรใช้สื่อภาพและข้อความบนซอง บุหรี่สื่อป้ายสติ๊กเกอร์สื่อโทรทัศน์และสื่อบุคคลในครอบครัวควรใช้สื่อรณรงค์ประกอบควบคู่ กัน และควรมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558