รูปแบบการสื่อสารของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงทางอินสตาแกรม
by อังฌุพร ตันติตระกูล
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการสื่อสารของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงทางอินสตาแกรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Communication patterns of healthy influencers on social media : Instagram |
ผู้แต่ง: | อังฌุพร ตันติตระกูล |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์ |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2015.26 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจยัครั้งนี้มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ที่มีชื่อเสียงบนสื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรมซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยผู้วิจิยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) รูปแบบการสื่อสารของผู้บริโภค อาหารเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงบนสื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรม คือผู้ที่แบ่งปันภาพอาหารเพื่อ สุขภาพลงในสื่อสังคมออนไลน์พร้อมกับข้อความที่สื่อถึงอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น Healthy, Breakfast, Organic, Home Cooking, Diet และมีผู้ติดตามจำนวน 40,000 คนขึ้นไปที่มีรูปแบบการ สื่อสารที่แตกต่างกันจำนวน 5 คน ผลการวิจยัพบว่า รูปแบบการสื่อสารการโพสต์ส่วนใหญ่เป็นภาพนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาพ อาหาร หรือภาพกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน จะมีเพียงบางท่านเท่าน้ันที่สื่อสารด้วย ภาพเคลื่อนไหวโดยสัดส่วนการนำ เสนอความเป็นอาหารเพื่อสุขภาพจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 70ขึ้นไป และสื่อสารผ่านภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพด้วยสมดุลกลางภาพเป็นหลัก รองลงมาคือการเน้นจุดเด่นของภาพและทัศนมิติตามลำดับ ซึ่งอุปกรณ์หลัก มีความหลากหลายคละกัน ไป พร้อมกับการใช้คำ บรรยายใต้ภาพที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันในแต่ละบุคคลควบคู่กับการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ที่เน้น เรื่องอาหารและการดำเนินชีวิตอื่นๆ เช่น การออกกำลังกาย การท่องเที่ยว หรือบทบาทอาชีพของแต่ละบุคคล โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตาม จะมีการกด ถูกใจจำนวนมากในภาพที่มีความโดดเด่น เช่นเดียวกับการแสดงความคิดเห็น ซึ่งในแต่ละบุคคลจะ มีเรื่องราวที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไปเฉพาะบุคคลเช่นกัน โดยช่วงเวลาที่นิยมโพสต์ภาพมากที่สุด คือ เวลา 6.01น. – 9.00 น. และ 9.01 น.– 12.00 น. ซึ่งภาพส่วนใหญ่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพในมื้อเช้าในขณะที่รองลงมาคือ เวลา 15.01 น. - 18.00 น. และโดยเฉลี่ยทุกคนมีการโพสต์ใกล้เคียงกัน ที่ จำนวน 2โพสต์ต่อวัน รูปแบบการสื่อสารของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงบนสื่อสังคมออนไลน์ อินสตาแกรม มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามการดำเนินชีวิตและความสนใจในแต่ละ ด้าน อาทิ การปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย หรือการท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ส่งสาร ยังคงสามารถถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพให้แก่ผู้รับสารได้เช่นเดียวกัน แต่ประสบความสำเร็จแตกต่างกันออกไปจากภาพถ่ายที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกัน ซึ่งการเพิ่มสีสัน ให้กับภาพถ่ายถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับการสื่อสาร รวมถึงการคลุมโทนสี ของภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราวให้ไปในทิศทางเดียวกันทำให้ภาพรวมของบัญชีอินสตาแกรมนั้น มีความชัดเจน โดดเด่น และเกิดความน่าสนใจในมุมมองของผู้ติดตาม อีกทั้งการสื่อสารผ่านตัวอักษร ด้วยคำบรรยายใต้ภาพ เป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจด้วยการบอกเล่าเรื่องราว เพื่อ เพิ่มการรับรู้ให้กับการสื่อสารนั้น ด้วยข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ชื่อเมนูวตัถุดิบ ขั้น ตอนการทำสารอาหารที่มีประโยชน์ เป็ นต้น และเมื่อผู้ติดตามได้รับข้อมูลครบถ้วนจะเป็นการสร้างทัศนคติ ด้านบวกซึ่งกันและกัน และส่งผลให้การสื่อสารนั้น ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น เมื่อทั้งผู้ส่งสาร และผู้ติดตาม เกิดทัศนคติที่ดีต่อกัน เหมือนเป็นการรักษากระบวนการสื่อสารให้คงไว้และดำเนินไป อย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | อาหารเพื่อสุขภาพ
สื่อสังคมออนไลน์ การสื่อสาร ผู้บริโภค |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 130 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5429 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|