• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

by สรนันท์ การเจริญดี

Title:

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Factors influencing the decision to participate in cycling activities among Bangkok Residents

Author(s):

สรนันท์ การเจริญดี

Advisor:

พรพรรณ ประจักษ์เนตร

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2016.24

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การเปลี่ยนแปลงบทบาทของจักรยานในประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2442 จวบจนปัจจุบันที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้จักรยานมากขึ้น จึงส่งผลให้ตลาดจักรยาน ในประเทศไทยเติบโตขึ้น ตามมาด้วยการจัดกิจกรรมการปั่นจักรยานจํานวนมากทั้งกิจกรรม ที่จัดขึ้นสําหรับกลุ่มลูกค้าของบริษัทผู้นําเข้าจักรยาน หรือกิจกรรมใหญ่ที่จัดขึ้นโดยภาครัฐ แต่จํานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานของผู้ประกอบการที่นําเข้าจักรยานรายใหญ่ มีจํานวนที่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป และเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดกิจกรรม การปั่นจักรยานซึ่งเป็นงานใหญ่ประจําปีที่จัดขึ้นโดยภาครัฐ และภาคเอกชน กลับมีผู้เข้าร่วม กิจกรรมเป็นจํานวนมาก การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้าน ส่วนประสมการตลาดบริการและทัศนคติในการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปจจัยด้านกลุ่มอ้างอิงและทัศนคติ ในการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจและทัศนคติในการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและ พฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 5) เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพฤติกรรมและความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ของงานวิจัยนี้ คือประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 23-60 ปี จํานวน 400 คน ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานต่อปัจจัยด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการอธิบายตัวแปรทัศนคติต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการปนจักรยาน คือ รูปแบบกิจกรรม และการส่งเสริมกิจกรรม 2) ความคิดเห็นของประชาชนในเขต กรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมกิจกรรมการปนจักรยานต่อปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิง ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการอธิบายทัศนคติต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยาน คือ การชักชวนของนักปนจักรยานที่มีชื่อเสียงชาวไทย การชักชวนของผู้ที่เป็นสมาชิกในชมรมจักรยาน 3) ความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานต่อ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการอธิบายทัศนคติต่อการเข้าร่วม กิจกรรมการปั่นจักรยาน คือ แรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายนอก 4) ทัศนคติของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมการปั่นจักรยาน เป็นตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการอธิบาย พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยาน 5) พฤติกรรมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเป็นตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการอธิบายความพึงพอใจในการเข้าร่วม กิจกรรมการปั่นจักรยาน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ความคิดเห็นต่อ 1)สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมด้านส่วนประสม การตลาดบริการ กิจกรรมการปั่นจักรยานประเภทรูปแบบการปั่นวัดใจ ราคาอยู่ที่ 500 บาท เป็นสถานที่ปิด มีการแจกของพรีเมี่ยม การสมัครแบบออนไลน์ บุคลกรที่จัดควรมีประสบการณ์ การแข่งขัน มีสาธารณูโภคเพียงพอ 2)ด้านกลุ่มอ้างอิงกลุ่มที่เป็นเพื่อนสนิท มีความสําคัญอย่าง มากต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม 3)ด้านแรงจูงใจ แรงจูงใจภายใน เป็นแรงจูงใจภายตัว บุคคลของนักปนจักรยานที่เป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนให้เกิดความต้องการ แรงจูงใจภายนอก เป็นอีกปัจจัยสําคัญจะทําให้นักปั่นเกิดความต้องการปั่นจักรยาน เพราะทําให้นักปั่นจักรยานรู้สึกถึงการได้รับชัยชนะ 4)ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น มีทัศนคติในการปั่นจักรยานทําให้ได้ออก กําลังกาย หลุดจากโลกโซเชียล สอนให้รู้จักกฎ กติกา ความมีนํ้าใจบนท้องถนน มีสุขภาพดี ได้ ท่องเที่ยว และการเป็นกีฬาที่ต้องซ้อม 5) พฤติกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ส่วนใหญ่เลือกที่ จะเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานที่มีรูปแบบการแข่งขันที่ท้าทาย และ 6) ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจระดับหนึ่งเท่านั้นกับการจัดกิจกรรมการปั่นจักรยานในประเทศไทย และยังคง คาดหวังให้กิจกรรมในประเทศไทยมีการพัฒนาการจัดการที่ดีขึ้น เพื่อให้เทียบเท่ากับมาตรฐาน การจัดกิจกรรมของนานาชาติต่อไป

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

การออกกำลังกาย

Keyword(s):

การปั่นจักรยาน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

149 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5433
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b193282.pdf ( 1,424.81 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [178]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×