มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่อาจเป็นอันตราย
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
167 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193183
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พรรณวิภา วงศ์พานิช (2015). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่อาจเป็นอันตราย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5436.
Title
มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่อาจเป็นอันตราย
Alternative Title(s)
Legal measures in controlling breeding dogs with dangerous breeds
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่ อาจเป็นอันตราย มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัข รวมถึงแนวทางการปรับปรุง แก้ไขมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัข โดยดำเนินการศึกษามาตรการทางกฎหมาย ในการควบคุมการเลี้ยงสุนัขของประเทศไทย เปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษ และประเทศนิวซีแลนด์ จากการศึกษากฎหมายของประเทศไทย พบว่ามีกฎหมายที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการควบคุม การเลี้ยงสุนัขอยู่ด้วยกันหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติ การทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 และข้อบัญญัติองค์การบริการส่วนท้องถิ่นที่ ควบคุมการเลี้ยงสุนัขอีกมากกว่า 80 ฉบับ เป็นต้น หากแต่ไม่มีกฎหมายฉบับใดที่มีบทบัญญัติที่ใช้ใน การควบคุมการเลี้ยงสุนัขไว้เป็นการเฉพาะ ส่งผลทำให้ยังมิได้มีการบัญญัติความหมายที่ชัดเจนในเรื่อง ความหมายของสุนัขสายพันธุ์ที่อาจเป็นอันตราย หน้าที่และความรับผิดของเจ้าของสุนัข หรือผู้รับ สุนัขไว้ดูแลแทน เป็นต้น จึงพบว่าในปัจจุบันยังคงปรากฏปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่อาจ เป็นอันตรายให้เห็นอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุนัขทำร้ายบุคคลให้ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สิน, ปัญหาเกี่ยวกับการก่อความเดือดร้อนรำคาญจากการเลี้ยงสุนัข หรือปัญหาสวัสดิ ภาพของสุนัข เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงสะท้อนให้เห็นว่าในปัจจุบันมาตรการทาง กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการเลี้ยงสุนัขของประเทศไทยยังคงมีความบกพร่องอยู่บางประการ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม การเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่อาจเป็นอันตราย โดยเห็นควรให้มีการตรากฎหมายเฉพาะที่ใช้ในการควบคุม การเลี้ยงสุนัขขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และสามารถลดปัญหาที่อาจเกิดจากการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่อาจเป็นอันตรายของ ประเทศไทยได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายและการจัดการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558