ความเป็นธรรมของการเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา
by ระชานันท์ เฉลิมกิจ
Title: | ความเป็นธรรมของการเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา |
Other title(s): | The fairness of the disclosure of evidence in criminal trial |
Author(s): | ระชานันท์ เฉลิมกิจ |
Advisor: | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2015.38 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงก่อนการพิจารณา คดี ซึ่งคู่ความแต่ละฝ่ายจะได้ล่วงรู้ถึงพยานหลักฐานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งประสงค์จะอ้างอิงเป็น พยานหลักฐานของตน การเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนการพิจารณาคดีอาญา จึงเป็นกระบวนการหนึ่ง ของวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพัฒนาแนวความคิดพื้นฐานจากหลักการของกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาที่สําคัญ เป็นการยืนยันถึงหลักประกันแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลยในการได้รับการพิจารณาคดี อย่างเป็นธรรม (Fair Trial) ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) การดําเนินคดีอาญาเป็นไปตามหลักการ ดําเนินคดีอาญาโดยรัฐ (State Prosecution) โดยมีระบบการค้นหาความจริงในคดีอาญาแบบไม่อสู้ คดี (Non-Adversarial System หรือ Inquisitorial System) และได้รับอิทธิพลแนวความคิดมาจาก ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ของประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้วิธีการค้นหาความจริงแบบ ต่อสู้คดี (Adversarial System หรือ Fight Theory) บทบาทของศาลและองค์กรในกระบวนการ ยุติธรรมของไทย จึงยังไม่สอดคล้องกับหลักการดําเนินคดีอาญาโดยรัฐ ศาลมักจะวางเฉย ไม่เกิดความ ร่วมมือกันในการแสวงหาพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงในคดีอย่างกระตือรือร้น (Active) ทําให้การ ดําเนินคดีอาญาขาดประสิทธิภาพในการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี เพื่อนํามาพิจารณาและพิพากษาคดี และการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 229/1 ซึ่งเกี่ยวกับการยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานในคดีอาญา ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเท่า เทียมกันระหว่างโจทก์และจําเลย ในระยะเวลาของการยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันไต่สวนมูล ฟ้องหรือวันสืบพยาน ด้วยเหตุนี้จึงทําให้การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญาระหว่างโจทก์และ จําเลยจึงแตกต่างกัน และส่งผลต่อการปฏิบัติที่แตกต่างกัน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | พยานหลักฐานในคดีอาญา -- ไทย
วิธีพิจารณาความอาญา |
Keyword(s): | พยานหลักฐาน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 125 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5439 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|