การรับรองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
177 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b193189
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ริญญาภัทร์ ณ สงขลา (2015). การรับรองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5442.
Title
การรับรองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
Alternative Title(s)
Legal recognition of right of gender diversity persons in adopting assisted reproductive technology
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ปัจจุบันในยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประกอบกับสภาพสังคมที่ได้มีความเจริญ และเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยอยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีช่วยการเจริญ พันธุ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยที่ได้มีการพัฒนาให้ทัดเทียมกับหลายๆประเทศทั่วโลก จึงจําเป็นที่ จะต้องปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้เหมาะสมตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ประเทศไทยจึงได้มี การประกาศใช้กฎหมายเพื่อรับรองและคุ้มครองบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการดังกล่าวให้ เป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยปราศจากการแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังถือประโยชน์ สูงสุดของเด็กบริสุทธิ์ที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์เป็นหลักเพื่อให้มีสิทธิ และหน้าที่ต่อครอบครัวทางพันธุกรรมให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมกับเด็กที่เกิดจาก กระบวนการตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วย การเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ฉบับนี้ยังมีข้อบกพร่องบางประการในประเด็นเรื่องของการก่อตั้ง ครอบครัวในรูปแบบที่แตกต่างกันโดยไม่ยึดติดกับเพศกําเนิดของสมาชิกในครอบครัว เป็นเหตุให้ต้อง มีการศึกษาถึงความเป็นมาและวิวัฒนาการรูปแบบการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลที่มีความหลากหลาย ทางเพศในสังคมไทย รวมถึงสิทธิของเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ จากครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐอย่างเสมอภาคกับเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของคู่สมรสต่างเพศ โดยศึกษาผ่านวิธีการวิจัย เชิงเอกสารทั้งตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรองสิทธิของ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ผลจากการศึกษาพบว่า การเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมของบุคคลที่มีความหลากหลายทาง เพศในการก่อตั้งครอบครัวทางพันธุกรรมในต่างประเทศเองก็ได้มีการรับรองให้สิทธิของบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศที่เข้ารับการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตได้ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญ พันธุ์ทางการแพทย์ในการก่อตั้งครอบครัวในรูปแบบของตน โดยมีหลักการ ข้อกําหนด หลักเกณฑ์ และบทกําหนดโทษลงในกฎหมาย ส่วนในประเทศที่อาศัยคําพิพากษาของศาลเป็นบรรทัดฐาน ศาล จะตัดสินโดยอาศัยหลักความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา หลักเจตจํานงที่จะยืนยันในการก่อตั้งครอบครัว รวมถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสําคัญ และยังอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนที่รัฐจะไม่เข้าไป กีดกันการสร้างครอบครัวไม่ว่าจะโดยรูปแบบใดก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตจึงเป็นกฎหมายที่มีจุดเกาะเกี่ยวที่สําคัญในการสร้างครอบครัวของ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นผลให้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จําเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความ หลากหลายทางเพศในสังคมไทยที่ได้เข้ารับการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิต (ซึ่งหากร่าง พระราชบัญญัติคู่ชีวิตได้มีการประกาศใช้) และเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทาง การแพทย์จากครอบครัวของคู่ชีวิตได้มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดาและบุตรให้ได้รับความ คุ้มครองอย่างเสมอภาคกับคู่สมรสต่างเพศ กล่าวคือ 1. เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและง่ายต่อการ ตีความของผู้จะเข้ารับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จึงสมควรกําหนดให้มีการ เพิ่มเติมคํานิยามศัพท์ “คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย” 2.เพื่อให้คู่ชีวิตที่ได้จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติคู่ชีวิตได้รับรองสิทธิในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ได้อย่างเสมอ ภาคกับคู่สมรส จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 19 และในมาตรา 21 จากคําว่า “สามีและภรรยา ที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งภริยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้” เป็น “คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งคู่สมรสฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่อาจตั้งครรภ์ได้” 3.เพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร ของเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์กับคู่ชีวิตที่ประสงค์จะมีบุตรจาก กระบวนการดังกล่าวให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐ จึงควรเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย 4. ในกรณีที่กฎหมายได้มีการเปิดช่องให้เด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วย การเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ก่อนที่พระราชบัญญัติฉบับนี้จะบังคับใช้ของคู่สมรสต่างเพศไม่ว่าบิดา และมารดาจะได้จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา มารดาที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน เด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทาง การแพทย์ของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศก่อนที่พระราชบัญญัติฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ควรได้รับ ประโยชน์จากการย้อนหลังของกฎหมายที่มีลักษณะเป็นคุณอีกด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558