• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

by ชัญญานุช วรแสน

Title:

ปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

Other title(s):

Legal problem on acquisition of nationality by marriage for gender diversity persons

Author(s):

ชัญญานุช วรแสน

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2015.32

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของ บุคคล ตามมาตรา 9 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 รวมไปถึงกรณีของบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติของบุคคลดังกล่าว โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมาย ระหว่างประเทศ กฎหมายประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมัน พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่เหมาะสม ในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการขอถือสัญชาติไทยโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลาย ทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า ตามมาตรา 9 วรรค 1 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ได้กำหนดให้ ผู้ทรงสิทธิในการขอถือสัญชาติไทยโดยการสมรส แก่หญิงต่างด้าวที่ทำการสมรสกับชายผู้มีสัญชาติ ไทยเท่านั้น โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่ไม่อนุญาตให้ชายต่างด้าวที่สมรสกับ หญิงไทยขอถือสัญชาติไทยตามความในมาตรานี้ โดยนำหลักการว่าด้วยความเป็นเอกภาพทาง ครอบครัวมาใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์การให้สัญชาติแก่บุคคล อีกทั้ง ยังกำหนดให้เฉพาะคู่สมรส ชายและหญิงหรือคู่รักที่มีเพศกำเนิดที่ต่างกันที่ทำการสมรสตามแบบที่กำหนดในมาตรา 1448 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ที่สามารถขอถือสัญชาติไทยโดยการสมรสได้ ซึ่งไม่ ครอบคลุมถึงการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกัน แม้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในมาตรา 30 จะให้ความคุ้มครองบุคคลที่มีความ หลากหลายทางเพศจากการเลือกปฏิบัติ แต่ยังไม่มีกฎหมายภายในฉบับใดบัญญัติรับรองสิทธิในการ สมรสของบุคคลเหล่านี้ อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่แม้จะไม่มี สถานะในการบังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ประเทศไทยก็เป็นรัฐภาคีซึ่งมีผลผูกพันตามพันธกรณี ส่วนในกฎหมายสัญชาติประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมันนั้น มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อ รับรองการสมรสสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศขึ้นใน 2 ลักษณะ คือ การจดทะเบียน สมรสระหว่างคู่รักที่มีเพศเดียวกันและการจดทะเบียนความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิต โดยการรับรองการ สมรสดังกล่าวมีผลให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับสิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการใช้ชีวิตคู่ ในฐานะคู่สมรสหรือคู่ชีวิต รวมไปถึงสิทธิในการได้มาซึ่งสิทธิในการขอ ถือสัญชาติโดยการสมรสด้วย โดยได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและหลักเกณฑ์มาใช้หลักความเสมอภาคระหว่างเพศในการได้มาซึ่งสัญชาติโดยการสมรสแก่บุคคล ให้ครอบคลุมถึงบุคคลที่มีความหลากหลาย ทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกันที่จะทำการขอถือสัญชาติตามคู่สมรสหรือคู่ชีวิตด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ หลักความเสมอภาคของบุคคลตามรัฐธรรมนูญภายในประเทศ ดังนั้น หากในอนาคตประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายให้บุคคลที่มีความหลากหลายทาง เพศทำการสมรสหรือจดทะเบียนความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตกันได้ ผู้ศึกษาเห็นว่า จึงควรมีการเปลี่ยน หลักการให้สัญชาติแก่บุคคลในฐานะคู่สมรสหรือคู่ชีวิต โดยให้ใช้หลักการให้สัญชาติหลักเดียวกันกับ ต่างประเทศ นั่นคือ หลักความเท่าเทียมกันระหว่างเพศในการได้มาซึ่งสัญชาติโดยการสมรส และ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 9 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ในเรื่องการได้มา ซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสแก่บุคคล ให้ครอบคลุมถึงบุคคลทั้งชายและหญิง และบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของ หลักการห้ามเลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

การสมรส -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- การสมรส

Keyword(s):

สิทธิในการขอถือสัญชาติ
การสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

191 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5444
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b193191.pdf ( 1.18 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×