ปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
191 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193191
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ชัญญานุช วรแสน (2015). ปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5444.
Title
ปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
Alternative Title(s)
Legal problem on acquisition of nationality by marriage for gender diversity persons
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของ บุคคล ตามมาตรา 9 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 รวมไปถึงกรณีของบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติของบุคคลดังกล่าว โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมาย ระหว่างประเทศ กฎหมายประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมัน พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่เหมาะสม ในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการขอถือสัญชาติไทยโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลาย ทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า ตามมาตรา 9 วรรค 1 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ได้กำหนดให้ ผู้ทรงสิทธิในการขอถือสัญชาติไทยโดยการสมรส แก่หญิงต่างด้าวที่ทำการสมรสกับชายผู้มีสัญชาติ ไทยเท่านั้น โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่ไม่อนุญาตให้ชายต่างด้าวที่สมรสกับ หญิงไทยขอถือสัญชาติไทยตามความในมาตรานี้ โดยนำหลักการว่าด้วยความเป็นเอกภาพทาง ครอบครัวมาใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์การให้สัญชาติแก่บุคคล อีกทั้ง ยังกำหนดให้เฉพาะคู่สมรส ชายและหญิงหรือคู่รักที่มีเพศกำเนิดที่ต่างกันที่ทำการสมรสตามแบบที่กำหนดในมาตรา 1448 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ที่สามารถขอถือสัญชาติไทยโดยการสมรสได้ ซึ่งไม่ ครอบคลุมถึงการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกัน แม้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในมาตรา 30 จะให้ความคุ้มครองบุคคลที่มีความ หลากหลายทางเพศจากการเลือกปฏิบัติ แต่ยังไม่มีกฎหมายภายในฉบับใดบัญญัติรับรองสิทธิในการ สมรสของบุคคลเหล่านี้ อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่แม้จะไม่มี สถานะในการบังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ประเทศไทยก็เป็นรัฐภาคีซึ่งมีผลผูกพันตามพันธกรณี ส่วนในกฎหมายสัญชาติประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมันนั้น มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อ รับรองการสมรสสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศขึ้นใน 2 ลักษณะ คือ การจดทะเบียน สมรสระหว่างคู่รักที่มีเพศเดียวกันและการจดทะเบียนความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิต โดยการรับรองการ สมรสดังกล่าวมีผลให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับสิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการใช้ชีวิตคู่ ในฐานะคู่สมรสหรือคู่ชีวิต รวมไปถึงสิทธิในการได้มาซึ่งสิทธิในการขอ ถือสัญชาติโดยการสมรสด้วย โดยได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและหลักเกณฑ์มาใช้หลักความเสมอภาคระหว่างเพศในการได้มาซึ่งสัญชาติโดยการสมรสแก่บุคคล ให้ครอบคลุมถึงบุคคลที่มีความหลากหลาย ทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกันที่จะทำการขอถือสัญชาติตามคู่สมรสหรือคู่ชีวิตด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ หลักความเสมอภาคของบุคคลตามรัฐธรรมนูญภายในประเทศ ดังนั้น หากในอนาคตประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายให้บุคคลที่มีความหลากหลายทาง เพศทำการสมรสหรือจดทะเบียนความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตกันได้ ผู้ศึกษาเห็นว่า จึงควรมีการเปลี่ยน หลักการให้สัญชาติแก่บุคคลในฐานะคู่สมรสหรือคู่ชีวิต โดยให้ใช้หลักการให้สัญชาติหลักเดียวกันกับ ต่างประเทศ นั่นคือ หลักความเท่าเทียมกันระหว่างเพศในการได้มาซึ่งสัญชาติโดยการสมรส และ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 9 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ในเรื่องการได้มา ซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสแก่บุคคล ให้ครอบคลุมถึงบุคคลทั้งชายและหญิง และบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของ หลักการห้ามเลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558