การรับรองสถานะทางกฎหมายศึกษากรณีการใช้คำนำหน้านาม
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
198 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194154
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กนกนันท์ ศรีคชา (2016). การรับรองสถานะทางกฎหมายศึกษากรณีการใช้คำนำหน้านาม. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5467.
Title
การรับรองสถานะทางกฎหมายศึกษากรณีการใช้คำนำหน้านาม
Alternative Title(s)
The legal status of the case study articles of transgender individuals
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
บทความนี้เป็นการศึกษาในเรื่องของการรับรองสถานะทางกฎหมาย กรณีการใช้คํานําหน้า นามของบุคคลที่แปลงเพศ เป็นการศึกษาทั้งในด้านของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งจะ เชื่อมโยงไปถึงในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของบุคคลแปลงเพศว่ามีอยู่อย่างไร และสามารถใช้สิทธิ เสรีภาพที่ตนมีอยู่นั้นได้ในทางใดบ้าง การค้นคว้าทั้งความเป็นมาว่าการแปลงเพศนั้นมีจุดเริ่มต้นมา จากจุดใด โดยรวมถึงความนึกคิดของคนในสังคม ทั้งในสมัยโบราณและในสมัยปัจจุบันว่ามีความ คิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่แปลงเพศนั้นอย่างไร การศึกษาในประเด็นต่างๆนี้ก็เพื่อที่จะได้ทราบถึงนิยาม ความหมายที่เกี่ยวกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศนั้นว่าหมายถึง กลุ่มบุคคลประเภทใดบ้าง และมีความจําเป็นหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะต้องมีการให้ความหมายอย่างชัดเจน ศึกษาถึงหลักกฎหมาย สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับหลักสิทธิขั้นพื้นฐานและหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการรับรองสิทธิและสถานะ ในทางกฎหมายให้แก่บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศรวมถึงหลักกฎหมาย หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ของกฎหมายไทยที่เป็นปัญหาในการรับรองสถานะทางกฎหมายของผู้แปลงเพศในปัจจุบัน อธิบายถึง ปัญหาและอุปสรรคของการที่ยังมิได้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อการรับรองสิทธิแก่บุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศไว้อย่างชัดเจนว่าส่งผลต่อการดําเนินชีวิตในสังคมภายใต้กฎหมายแก่บุคคล ดังกล่าวอย่างไร ตลอดจนความจําเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาและการบัญญัติกฎหมายเพื่อให้ สอดคล้องกับความเป็นไปและสภาพข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม โดยที่บทบัญญัติทางกฎหมายควรจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับแนวทางปฏิบัติทางการ แพทย์ซึ่งหลักเกณฑ์ทางการแพทย์เกี่ยวกับผู้ที่จะผ่าตัดแปลงเพศ ก็คือ ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วย การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเรื่อง เกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ. 2552 ที่ว่าด้วย หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะทําการผ่าตัดแปลงเพศ และแนวทางการปฏิบัติสําหรับจิตแพทย์ในการ ช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเอกลักษณ์ทางเพศ 2552 โดยราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่ง หลักเกณฑ์ที่ผู้ต้องการผ่าตัดแปลงเพศควรจะต้องปฏิบัติคือ หลักเกณฑ์ตามแนวทางการปฏิบัติ สําหรับจิตแพทย์ในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเอกลักษณ์ทางเพศ โดยในลําดับแรกที่ต้องให้ผู้ที่มีปัญหา ในด้านนี้เข้าพบจิตแพทย์เพื่อที่จะได้ทําการพูดคุยกับผู้ป่วยก่อน เพราะบุคคลนั้นอาจไม่ต้องทําการ รักษาโดยการแปลงเพศเสมอไป แต่ถ้าบุคคลนั้นต้องการที่จะแปลงเพศ และจิตแพทย์ลงความเห็น ให้ทําการผ่าตัดได้บุคคลนั้นก็สามารถที่จะทําการผ่าตัดแปลงเพศได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559