อำนาจบังคับบัญชาในการแต่งตั้งโยกย้ายกับการควบคุมตรวจสอบโดยศาลปกครอง
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
161 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b195155
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นิสิตา สุขสถิตย์ (2016). อำนาจบังคับบัญชาในการแต่งตั้งโยกย้ายกับการควบคุมตรวจสอบโดยศาลปกครอง. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5468.
Title
อำนาจบังคับบัญชาในการแต่งตั้งโยกย้ายกับการควบคุมตรวจสอบโดยศาลปกครอง
Alternative Title(s)
The study of a ministrative Court’s control over the hierarchy control by superior with special reference to nomination
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในส่วนของศาลปกครองไทยได้วางหลักเกณฑ์ในการ ควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการออกคำสั่งทางปกครองขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายขององค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายในของ คำสั่ง ทั้งยังมีการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทาง ปกครองของสหพันธ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธรัฐเยอรมันอีกด้วย เพราะเมื่ออำนาจบังคับบัญชา คือหัวใจสำคัญที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นอำนาจในส่วนของฝ่ายปกครองซึ่งเป็นดุลพินิจโดยแท้และสามารถ ควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้โดยทั้งฝ่ายปกครองและโดยศาลปกครอง ซึ่งจะมีปัญหา ในส่วนของศาลปกครองที่ศาลมักอ้างว่าการปรับข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อกฎหมายนั้นคือข้อกฎหมาย ศาลจึงใช้อำนาจก้าวล่วงเข้ามาควบคุมตรวจสอบในเรื่องของการบริหารงานบุคคลในแง่ของความ เหมาะสมตรงนี้ทั้งยังเป็นการใช้อำนาจในทางที่ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจอันเป็นหลักการ พื้นฐานอีกด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาถึงอำนาจบังคับบัญชาในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการพล เรือน โดยจำกัดขอบเขตการศึกษาจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดเฉพาะการพิจารณาวินิจฉัยข้อ พิพาทที่เกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองในเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเฉพาะที่ออกโดยอำศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้ำราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน โดยมีประเด็นใน การศึกษาถึงหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองในส่วนของคำสั่งทางปกครองทั้ง ในหลักเกณฑ์การพิจารณาของศาลปกครองในประเทศไทยและศาลปกครองในต่างประเทศ (สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส) เป็นสำคัญ ผู้เขียนพิจารณาเห็นว่า ในการบริหารราชการแผ่นดินผู้บังคับบัญชามีอำนาจในการออกคำสั่ง แต่งตั้งโยกย้ายผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งถือได้ว่าเป็นดุลพินิจโดยแท้ของผู้บังคับบัญชาในการบริหารงาน บุคคลภายในได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม แต่การใช้อำนาจดังกล่าวนอกจำกจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายและอยู่ในขอบเขต ของกฎหมาย รวมทั้งมีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวด้วย โดยพบว่ามีปัญหาในส่วนของการควบคุมตรวจสอบคำสั่งในการแต่งตั้งโยกย้ายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ยากจะทำความ เข้าใจ และมีหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนหลายประการในเรื่องขอบเขตอำนาจของศาลปกครองในการก้าวล่วงเข้าไปควบคุมตรวจสอบในส่วนของดุลพินิจโดยแท้ของฝ่ายปกครองที่ถือเป็นการ บริหารงานบุคคลภายใน ซึ่งศาลปกครองย่อมมีเพียงอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารใน แง่ของความชอบด้วยกฎหมาย ไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปควบคุมตรวจสอบในแง่ของความเหมาะสมของ การบริหารงานบุคคลได้และจากการศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดนั้น คำและคำสั่งศาลปกครองบางกรณีมีการวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการปฏิบัติราชการของฝ่ายปกครองแต่ บางกรณียังคงมีความสับสนในการวางหลักเกณฑ์และการปรับใช้กฎหมายที่ยากจะหาทฤษฎีหรือ หลักการของกฎหมายมาปรับให้เห็นว่าศาลปกครองใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการตัดสินคดี ดังนั้น จึงมี ความสำตคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาเรื่องดังกล่าวข้างต้นเพื่อจะช่วยทำให้เกิดความ เข้าใจ ตลอดจนสามารถอธิบายรวมถึงวิเคราะห์คำพิพากษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ภายใต้บริบทของ สังคมไทย เพื่อที่จะได้สำมารถเสนอแนะแนวทาในการแก้ไขปัญหาที่จะนำพำประเทศไทยให้สามารถ ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาระบบราชการไทยที่วางไว้ได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559