อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
by สนธยา เอี่ยมงาม
Title: | อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน |
Other title(s): | The authority of Thai local government in revenue collection from the usage of public property |
Author(s): | สนธยา เอี่ยมงาม |
Advisor: | สุนทร มีสวัสดิ์ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.17 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงแนวคิดทฤษฎีและข้อความคิดของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตลอดจนเพื่อให้ทราบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่มีผู้ได้ ใช้ประโยชน์จากสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือได้ใช้ ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้แนวทาง เกี่ยวกับการตรากฎหมาย เพื่อให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเรียกเก็บค่ำธรรมเนียม จากผู้ที่ได้ใช้ประโยชน์จากสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมี อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจากการศึกษาพบว่าอำนำจหน้าที่และรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดไว้ โดยกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ส่วนอำนาจในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จะ เป็นไปตามที่กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ได้กำหนดไว้ เช่นอำนาจในการออก ข้อบังคับ อำนาจในการออกคำสั่ง อำนาจในการทำสัญญา เป็นต้น ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ย่อมมีสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยูในเขตของตน ซึ่งมีปัญหาว่าหากมีผู้ใดได้ใช้ประโยชน์จากสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดินปะเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) เช่น มีคนนำน้ำจากแหล่งน้ำสำธารณะในเขต พื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปใช้ เช่นนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเรียกเก็บค่าใช้น้ำดังกล่าว ได้หรือไม่ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | ที่ดินของรัฐ -- การจัดการ
ที่ดินของรัฐ -- การบริหาร |
Keyword(s): | สาธารณสมบัติของแผ่นดิน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 109 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5471 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|