ปัญหาสิทธิในการเลือกตั้งของพระสงฆ์
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
114 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194161
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ประวีณ พันธุ์พิพัฒน์ (2016). ปัญหาสิทธิในการเลือกตั้งของพระสงฆ์. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5474.
Title
ปัญหาสิทธิในการเลือกตั้งของพระสงฆ์
Alternative Title(s)
Legal issue in elective rights of Thai monk
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน หลักสิทธิพลเมืองและหลักสิทธิทางการเมือง ทฤษฎีอํานาจอธิปไตยแนวคิดและ ความสําคัญของการใช้สิทธิเลือกตั้งอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย และศึกษาแนวคิด การใช้สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ในประเทศไทย รวมถึงศึกษาแนวคิดการใช้สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ ในประเทศศรีลังกา ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และประเทศกัมพูชา เพื่อวิเคราะห์ เปรียบเทียบการใช้สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ในประเทศศรีลังกา ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และประเทศกัมพูชา เพื่อนํามาแนะแนวทางทางในพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งของ พระสงฆ์และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้ว และกฎหมายที่จะบัญญัติขึ้นใหม่ในการใช้สิทธิ เลือกตั้งแก่พระสงฆ์ในประเทศไทยต่อไป จากการศึกษา พบว่า ประเทศศรีลังกา ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และประเทศ กัมพูชา พระสงฆ์ของทั้งสามประเทศนี้สามารถไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้โดยประเทศ ศรีลังกาพระสงฆ์สามารถจัดตั้งพรรคการเมืองและลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ อีกด้วย แต่ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่พระสงฆ์ไม่สามารถไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ได้เพราะรัฐธรรมนูญได้บัญญัติห้ามไว้ตั้งแต่เริ่มมีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เมื่อปีพ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จนถึงรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยได้ใช้แนวคิดทฤษฎีอํานาจอธิปไตยเป็นของชาติ มาจํากัดสิทธิพระสงฆ์แต่การจํากัดสิทธิดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิที่เป็นสิทธิพื้นฐานที่ติดตัว มนุษย์มาตั้งแต่กําเนิด ไม่มีใครจะมาพรากสิทธินี้ไปจากมนุษย์หรือจะมาใช้สิทธินี้แทนกันได้สิทธินี้คือ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งที่อยู่ในหลักสิทธิมนุษยชนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อพระสงฆ์ก็เป็นหนึ่งในพลเมืองแห่งรัฐเสมือนกับประชาชนทั่วไป สิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมืองเป็นสิทธิพื้นฐานที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กําเนิดซึ่งไม่มีใครสามารถจะมาละเมิดสิทธิหรือพรากสิทธินี้ไปได้ประเทศไทยจึงควรนําหลักการแนวคิดทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายของ ประเทศศรีลังกา ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าและประเทศกัมพูชามาปรับใช้กับการแก้ไข ปัญหาของประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปรับปรุงกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะบัญญัติขึ้นใหม่และ ให้สิทธิเลือกตั้งแก่พระสงฆ์ประเทศไทยในอนาคตต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559