ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
178 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b194162
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ฐาปนี อิ่มวิเศษ (2016). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5475.
Title
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
Alternative Title(s)
Legal problems on drug addict rehabilitation in the Narcotic Rehabilitation Act 2002
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ประเทศไทยได้ประสบปัญหายาเสพติดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และได้มีการพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาตรการทางกฎหมายเพื่อขจัดปัญหายาเสพติดอยู่ตลอดเวลา โดยได้มีมาตรการในการ จัดการปัญหายาเสพติดดังนี้ 1. มาตรการป้องกันมิให้ประชาชนยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 2. มาตรการปราบปรามลงโทษผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 3. มาตรการบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งมาตรการบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนับเป็นมาตรการที่สําคัญ โดยมองว่าผู้ติด ยาเสพติดคือผู้ป่วย จําต้องได้รับการบําบัดรักษาเพื่อกลับคืนเป็นคนดีสู่สังคมให้เร็วที่สุด เพราะผู้ที่เสพ สารเสพติดเข้าไป สารอันตรายต่าง ๆ จะไปทําลายระบบประสาทและสมอง ทําให้เป็นต้นเหตุในการ ก่ออาชญากรรมในภายภาคหน้าได้ และการบําบัดฟิ้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนี้ยังคงมีปัญหา กล่าวคือยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยภาครัฐมีความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอด ซึ่งแต่เดิมระบบการบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีเพียง ระบบสมัครใจบําบัด และระบบต้องโทษเท่านั้น โดยได้มีการเพิ่มระบบบังคับบําบัดในพระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2534 และใช้มาจนถึงพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา เสพติด พ.ศ.2545 แม้เห็นว่าระบบบังคับบําบัดเป็นระบบที่ดีที่สุด แต่จํานวนผู้ติดยาเสพติดก็ยัง เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะผู้เขียนมองว่าการบังคับบําบัดมุ่งเน้นแต่เพียงบําบัดทางกายให้ผู้ที่ติดยาเสพติดมี สุขภาพทางกายที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ลืมไปว่าปัญหาของผู้เสพยาเสพติดนั้นล้วนแล้วแต่เริ่มมาจากจิตใจ ของผู้เสพทั้งสิ้น ซึ่งการที่ผู้เสพยาเสพติดสมัครใจที่จะเข้ารับการบําบัดย่อมมีประสิทธิภาพดีกว่า เพราะผู้เสพยาเสพติดมีความตั้งใจที่อยากจะเลิกยาเสพติดจริง ๆ อีกทั้งในระบบบังคับบําบัดเมื่อผู้เสพ ยาเสพติดที่ผ่านการบําบัดรักษาแล้วก็อาจหวนกลับไปเสพยาเสพติดซ้ําอีกได้สาเหตุอาจเกิดจากการกลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมสังคมเดิม ๆ คบเพื่อนกลุ่มเดิม ๆ และจิตใจที่ยังไม่อยากเลิกจริง ๆ ทั้งยัง ขาดมาตรการติดตามผลภายหลังการบําบัดรักษาและมาตรการทางกฎหมายก็ยังไม่มีความรุนแรง เท่าที่ควร ดังนั้นพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จึงควรเล็งเห็นถึงความ สําคัญของระบบสมัครใจบําบัด และระบบติดตามผลหลังการบําบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพ ติดมากขึ้น โดยการเพิ่มมาตรการทางกฎหมายในเรื่องการตรวจพิสูจน์และคัดกรองผู้ติดยาเสพติด และการติดตามผลที่ยังมิได้บัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมถึงให้มีการช่วยเหลือจากทาง ภาครัฐ ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการบําบัดรักษาของผู้ที่สมัครใจเข้ารับการบําบัดแต่มีฐานะยากจนที่ ต้องการรับการบําบัดรักษาจากทางโรงพยาบาล
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559