การศึกษาอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะ: กรณีโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (ถ่านหิน) กระบี่
by เขมภัฏ ห้วยลึก
Title: | การศึกษาอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะ: กรณีโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (ถ่านหิน) กระบี่ |
Other title(s): | Stakehoders influence on public policy process in Thailand: a case study of Krabi Coal Power Plant |
Author(s): | เขมภัฏ ห้วยลึก |
Advisor: | จันทรานุช มหากาญจนะ |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการนโยบายสาธารณะ พลวัตรของนโยบายสาธารณะ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและวิธีการสร้างอิทธิพลของกลุ่มต่าง ๆ ต่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (ถ่านหิน) กระบี่ ซึ่งมีวิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ในพื้นที่จังหวัดกระบี่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งที่จังหวัดกระบี่และกรุงเทพฯ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบให้กับวัถุประสงค์การวิจัย
ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการนโยบายของโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (ถ่านหิน) กระบี่ ถูกกำหนดโดยหน่วยงานส่วนกลางผ่านคณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศและคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย และลงมติเห็นชอบโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดนโยบายแบบชนชั้นนำ แต่เมื่อเกิดการต่อสู้ของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อสร้างอิทธิพลในกระบวนการนโยบาย รูปแบบการกำหนดนโยบายมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีลักษณะตามตัวแบบกลุ่ม เป็นผลให้จุดสมดุลของนโยบายมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้นโยบายคำนึงถึงผลประโยชน์หรือความต้องการของกลุ่มต่อต้านถ่านหินมากขึ้น การสร้างอิทธิพลของกลุ่มต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน โดย กฟผ. ในฐานะหน่วยงานของรัฐก็มีอำนาจที่จะส่งผู้แทนเป็นคณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายผ่านระบบราชการและผู้นำในท้องถิ่นเพราะสร้างความเข้าใจเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และการอุดหนุนงบประมาณในกิจกรรมหรือโครงการของท้องถิ่น รวมไปถึงการขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ส่วนบริษัทเอกชนนอกจากการสนับสนุนเงินให้กลุ่มต่อต้านถ่านหินเพื่อเป็นค่าเดินทางและอาหารแล้วกลุ่มธุรกิจเอกชนในจังหวัดกระบี่มีการรวมกลุ่มกันแถลงการณ์และลงนามเพื่อสงสัญญาณแก่รัฐบาลในฐานะผู้กำหนดนโยบาย อีกทั้งยังสื่อสารกับผู้มีอำนาจในภาคส่วนต่าง ๆ ประชาชนที่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ได้กลายเป็นเครือข่ายของกฟผ. ส่วนประชาชนที่ต่อต้านถ่านหินได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายของกลุ่มต่อต้านถ่านหินและจัดกิจกรรม ชุมนุม แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทั้งในพื้นที่และที่กรุงเทพฯ นักการเมืองระดับชาติมีพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านและข้อเสนอแนวทางอื่นในการผลิตไฟฟ้า ส่วนนักการเมืองท้องถิ่นมาทั้งที่เห็นด้วยและคัดค้านถ่านหิน ทั้ง 2 ฝั่งก็ออกมาแสดงความคิดเห็นตามหน้าสื่อ รวมไปถึงการเข้าร่วมเวทีสาธารณะต่าง ๆ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกกลุ่มคือสื่อมวลชนซึ่งสื่อมวลชนกระแสหลักค่อนข้างนำเสนอข่าวอย่างมีข้อจำกัดเพราะ กฟผ.เป็นผู้ซื้อโฆษณาด้วยทำให้การนำเสนอข่าวเป็นไปอย่างยากลำบาก แตกต่างจากสื่อกระแสรองโดยเฉพาะสื่อออนไลน์และช่องทีวีสาธารณะที่นำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมากกว่า
|
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | นโยบายสาธารณะ
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน |
Keyword(s): | กระบวนการนโยบายสาธารณะ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถ่านหินกระบี่ e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 256 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5515 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|