• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การพัฒนาการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาในยุคดิจิทัล: กรณีศึกษาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

by นิอัลยา สาอุ

Title:

การพัฒนาการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาในยุคดิจิทัล: กรณีศึกษาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Other title(s):

Learning development of higher education in the digital age : case study of the Three Southern Border Provinces

Author(s):

นิอัลยา สาอุ

Advisor:

ไพโรจน์ ภัทรนรากุล

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2020

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดการศึกษาในยุคดิจิทัลและรูปแบบของการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) เพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของดิจิทัลเทคโนโลยีด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (3) เพื่อศึกษาให้เป็นข้อเสนอแนะทางด้านนโยบายการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่การศึกษายุคดิจิทัล ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 28 คน คือ กลุ่มผู้บริหารหลักสูตร กลุ่มผู้สอนและบุคลากรสนับสนุนทางการศึกษา และกลุ่มผู้เรียน ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดการศึกษาในยุคดิจิทัลและรูปแบบของการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังนี้ 1.1) แนวคิดการศึกษาในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย แนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวคิดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล และทฤษฎีคอนสตรัคติวิส 1.2) รูปแบบของการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษา มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องตามยุคและสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WBI) อีเลิร์นนิง (E-learning) และการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOC) (2) บทบาทและความสำคัญของดิจิทัลเทคโนโลยีด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีบทบาทและความสำคัญในมิติที่สำคัญ 4 ประการ คือ ด้านการสร้างโอกาสทางการศึกษาหรือลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา ด้านการใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ด้านการช่วยในการจัดการและบริหารการศึกษา ด้านการใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ทางการศึกษา (3) ข้อเสนอแนะทางด้านนโยบายการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่การศึกษายุคดิจิทัล มีดังนี้ 3.1) การพัฒนาการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีการพัฒนาในองค์ประกอบต่าง ๆ คือ รูปแบบการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลที่สอดคล้อง มีทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล มีการปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล และมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในยุคดิจิทัล 3.2) การเตรียมความพร้อมหรือปรับตัวเพื่อเข้าสู่การศึกษายุคดิจิทัลของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังนี้ คือ ต้องมีการเตรียมความพร้อมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องปรับตัวของหลักสูตรและการบริหารจัดการ ต้องเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์หรือโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น งบประมาณที่เพียงพอ
The main objectives of this study are (1) to study educational concepts within the digital era and how digital technology is adopted by undergraduate schools in the 3 southern border provinces; (2) to study the role and importance of educational digital technology in undergraduate schools in the 3 southern border provinces for development purpose; (3) to study provide recommendations on developing appropriate educational policies and learning development in the digital era by the undergraduate schools in the 3 southern border provinces. The research method used are qualitative research namely desk research and in-depth interviews conducted with a total of 28 stakeholders within the educational system including instructors, educational administrative staffs, and students. The study reveals that (1) the educational concepts within the digital era and how digital technology is adopted by undergraduate schools in the 3 southern border provinces comprise of the followings: 1.1) the educational concepts within the digital era are learning in the 21st century, learning in the digital era, and Constructivist theory; 1.2) the digital adoption by undergraduate schools is continuously developed in accordance with the modern changes and are consisted of Computer Assisted Instruction (CAI), Web Based Instruction (WBI), E-learning, and Massive Open Online Courses (Mooc). (2) the role and importance of educational digital technology in undergraduate schools in the 3 southern border provinces are taking 4 major roles which are widening educational opportunity or reducing educational opportunity gap, used as a tool for the quality of education, assisted in educational management, and benefited various other educational activities. (3) the recommendations on developing appropriate educational policies and learning development for undergraduate schools in the 3 southern border provinces that is responsive to the entrance to the digital era are the followings: 3.1) Various components required for developments are the development of learning that aligns with the digital era, provide learning that equip students with the required skills and encourage adaptability in the digital era, and having the fundamental structures that’s necessary in the digital era. 3.2) The required preparation for the entrance to learning in the digital era by undergraduate schools in the 3 southern border provinces are: preparation of related human resources, adaptation of the curriculums and management methods, preparation of the required tools or other related infrastructure, for instance sufficient funding for developments.

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563

Subject(s):

การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ผลกระทบจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี -- ไทย
เทคโนโลยีสารสนเทศ -- ไทย
การศึกษา -- ไทย (ภาคใต้)
การพัฒนาการศึกษา -- ไทย (ภาคใต้

Keyword(s):

e-Thesis

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

244 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5519
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b212281.pdf ( 8,338.30 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×