ตัวแบบสินค้าคงคลังแบบสองระดับสำหรับสินค้าหลายประเภท : ความต้องการสินค้าทราบค่าแน่นอนและช่วงเวลาที่ต้องสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับสินค้ามีการแจกแจงความน่าจะเป็น
Publisher
Issued Date
2011
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
15, 222 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
หฤทัย ไทยมณี (2011). ตัวแบบสินค้าคงคลังแบบสองระดับสำหรับสินค้าหลายประเภท : ความต้องการสินค้าทราบค่าแน่นอนและช่วงเวลาที่ต้องสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับสินค้ามีการแจกแจงความน่าจะเป็น. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/552.
Title
ตัวแบบสินค้าคงคลังแบบสองระดับสำหรับสินค้าหลายประเภท : ความต้องการสินค้าทราบค่าแน่นอนและช่วงเวลาที่ต้องสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับสินค้ามีการแจกแจงความน่าจะเป็น
Alternative Title(s)
Multi-product two-echelon inventory system : deterministic demand and probabilistic lead time
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบสินค้าคงคลังอุตตมะ ที่ให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อ หน่วยเวลาในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของบริษัท บุญถาวรเซรามิค จำกัด ที่นำมาเป็น กรณีศึกษามีค่าต่ำสุด โดยแบ่งการเปรียบเทียบการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งเป็นกรณีที่บริษัทดำเนินนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังแบบรวมความรับผิดชอบ (Centralized Case) โดยใช้ตัวแบบสินค้าคงคลังแบบสองระดับสำหรับสินค้าหลายประเภท (Multi-product Two-echelon Inventory System) ซึ่งเป็นตัวแบบที่สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา ข้อได้เปรียบของตัวแบบนี้ คือ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อพื้นฐานสำหรับสินค้าหลายประเภท กรณีที่สอง เป็นกรณีที่บริษัทดำเนินนโยบายการ บริหารสินค้าคงคลังแบบกระจายความรับผิดชอบ (Decentralized Case) โดยไม่มีศูนย์กระจายสินค้า ตัวแบบที่ใช้สำหรับสินค้าหลายประเภทในกรณีนี้คือ ตัวแบบสินค้าคงคลังแบบผสมชนิดสามารถ จัดหาได้(Can-order Inventory System) (sj , zj , Sj ) ตัวแบบสินค้าคงคลังแบบผสม (Joint-ordering Inventory System) (sj , Sj ) และ (R, sj , Sj ) และตัวแบบสินค้าคงคลังพื้นฐาน (Individual-ordering ณ Inventory System) (sj , Sj ) และ (R, sj , Sj )การเปรียบเทียบนโยบายสินค้าคงคลังจะใช้ข้อมูลสินค้า หมวด A ที่ทำรายได้ การศึกษานี้กำหนดระดับการให้บริการลูกค้าเท่ากับ 95% และประมวลผลการวิเคราะห์โดย ใช้โปรแกรม SAS เวอร์ชั่น 9.2 สามารถสรุปผลได้ว่าตัวแบบสินค้าคงคลังแบบสองระดับสำหรับ สินค้าหลายประเภท ให้ค่าใช้จ่ายรวมเฉลี่ยต่อไตรมาสในการจัดการสินค้าคงคลังต่ำสุดเมื่อ
เปรียบเทียบกับนโยบายอื่นในทุกกรณี คือ ลดลงต่ำกว่า นโยบายปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา ตัวแบบสินค้าคงคลังแบบผสมชนิดสามารถจัดหาได้ ตัวแบบสินค้าคงคลังแบบผสม และตัวแบบ สินค้าคงคลังพื้นฐานเท่ากบร้อยละ ั 82.17 ร้อยละ 25.32 ร้อยละ 2.73 และร้อยละ 45.84 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มสินค้ากระเบื้องตัวอย่าง ส่วนกลุ่มสินค้า DIY ตัวอย่างลดลงต่ำกว่านโยบายอื่นๆเท่ากับ ร้อยละ85.25ร้อยละ17.29ร้อยละ1.74และร้อยละ44.85 ตามลำดับ คำสำคัญ: ระบบสินค้าคงคลังแบบสองระดับ; สินค้าหลายประเภท; ความต้องการสินค้าทราบค่า แน่นอน; ช่วงเวลาที่ต้องสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับสินค้ามีการแจกแจงความน่าจะเป็น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011