ประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย
by วิสุทธิ์ เหมหมัน
Title: | ประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย |
Other title(s): | Operational efficiency of Thai non-life insurance business |
Author(s): | วิสุทธิ์ เหมหมัน |
Advisor: | ปรีชา วิจิตรธรรมรส, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
Degree department: | คณะสถิติประยุกต์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2010 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2010.63 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยคร้ังนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิค ประสิทธิภาพด้านขนาด และ เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัยจํานวน 61 บริษัท ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 ถึง ปีพ.ศ. 2551 โดยอาศัยตัวแปรทางกายภาพและตัวแปรทางการเงิน ผู้วิจัยได้นําระเบียบวิธี Data Envelopment Analysis (DEA) ด้านปัจจยการผลิต (Input Oriented) มาใช้ในการวิเคราะห์ ประสิทธิภาพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ (Efficiency) การดำเนินงานของธุรกิจ ประกันวินาศภัย ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ด้วยตวแปรทางกายภาพ พบว่าประสิทธิภาพทางเทคนิคของ ธุรกิจประกันวินาศภัยโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.66 ปี ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือปีพ.ศ. 2549 โดยมีค่า ประสิทธิภาพเท่ากบั 0.71 ส่วนปี ที่ประสิทธิภาพต่ำสุดคือปีพ.ศ. 2550 โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 0.56 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ส่วนผลการศึกษาที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยตัวแปรทางการเงินได้ให้ ผลในทำนองเดียวกนั คือ ประสิทธิภาพทางเทคนิคของธุรกิจประกันวินาศภัยโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.65 ปี ที่ประสิทธิภาพสูงสุดคือปี พ.ศ. 2547 และ ปีพ.ศ. 2551 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 0.69 เท่ากัน ปีที่ประสิทธิภาพต่ำสุดคือ ปีพ.ศ. 2550 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 0.61 และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ (Expenses Ratio) ซึ่งมีความสัมพนธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญกับคะแนนประสิทธิภาพ พบว่าใน ปีพ.ศ. 2550 ธุรกิจประกันวินาศภัยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อเบี้ยประกันภัยรับสุทธิสูงถึงร้อยละ 105 สอดคล้องกับค่าประสิทธิภาพที่ตํ่าสุดในปีนี้เช่นกัน ผลที่ได้จากการวิจัยคร้ังนี้ทําให้ทราบความมีประสิทธิภาพของบริษัทประกันวินาศภัยแต่ละ แห่งและแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ทั้งจำนวนพนักงาน จํานวนผู้บริหาร จํานวนสาขา ค่าจ้าง ค่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมถึงการดำรงเงินกองทุนของบริษัทให้มี ประสิทธิภาพได้ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010 |
Subject(s): | ประกันวินาศภัย -- ไทย
ประกันภัยธุรกิจ -- ไทย |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 94 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/554 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|