• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบความยั่งยืนทางธุรกิจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก : กรณีศึกษาองค์การธุรกิจในประเทศไทย

by วรรณฉัตร กิจเกษมสิน

Title:

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบความยั่งยืนทางธุรกิจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก : กรณีศึกษาองค์การธุรกิจในประเทศไทย

Other title(s):

Comparative study of corporate sustainability in proactive environmental management : the case study of business organization in Thailand

Author(s):

วรรณฉัตร กิจเกษมสิน

Advisor:

ภัคพงศ์ พจนารถ

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2021

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2021.25

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของระดับความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของกระบวนการในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ โดยใช้กรณีศึกษาองค์การธุรกิจ 2 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มองค์การธุรกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 7 กลุ่มธุรกิจ (SET) และกลุ่มองค์การธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (MAPTAPHUT) เป็นการศึกษาปัจจัยด้านองค์การ จำนวน 7 ปัจจัย และปัจจัยด้านกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 13 ปัจจัย และ 88 ประเด็นย่อย ที่มีผลต่อระดับความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในองค์การ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจากแบบสอบถามแบบปลายปิด และการค้นคว้าศึกษาจากเอกสาร ใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างกลุ่มองค์การธุรกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 101 บริษัท จาก 596 บริษัท ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2560 และ จำนวนกลุ่มองค์การธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง 31 บริษัท จาก 112 บริษัท ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวมของ SET อยู่ในระดับที่สูง กลุ่มของ SET ที่มีระดับความสามารถสูงที่สุด คือ กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO)  และกลุ่มที่มีระดับความสามารถต่ำที่สุด คือ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม (SET_INDUS) มีระดับความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงค่าเฉลี่ยของทุกกลุ่มกลุ่มธุรกิจ สามารถเป็นตัวแทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ในขณะที่ MAPTAPHUT มีระดับของความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในองค์การธุรกิจอยู่ในระดับที่สูงและมีค่าคะแนนสูงกว่า SET แต่ยังน้อยกว่า AGRO ด้านปัจจัยด้านองค์การ SET ให้ความสำคัญกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนและการรายงานผลการดำเนินงานสิ่งแวดล้อม เป็นอันดับแรกๆ ในขณะที่การดำเนินงานตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการไหลของวัสดุเป็นอันดับรองลงมา และมีระดับการให้ความสำคัญที่ไม่ต่างกันมาก ในส่วนของ MAPTAPHUT ให้ความสำคัญกับการรายงานผลการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมเป็นลำดับแรก ในขณะที่การให้ความสำคัญกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การนำระบบมาตรฐานมาใช้และการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการไหลของวัสดุ เป็นอันดับรองลงมา ในด้านการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการวิจัยและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้ง SET และ MAPTAPHUT ยังมีการให้ความสำคัญอยู่น้อย แต่อย่างไรก็ตามในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น สำหรับปัจจัยด้านกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม พบว่า ทั้ง SET และ MAPTAPHUT  ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม และเรื่องค่านิยมบรรทัดฐานขององค์การด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับเรื่องที่ให้ความสำคัญน้อยที่สุด ทั้ง SET และ MAPTAPHUT ได้แก่ เรื่องความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ในด้านสิ่งแวดล้อม และเรื่องการจัดทำบัญชีการบริหารด้านสิ่งแวดล้อม เหมือนกัน ปัจจัยเรื่องการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพบว่า MAPTAPHUT ให้ความสำคัญอยู่ในระดับน้อยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในระดับประเด็นย่อย พบว่ากลุ่มบริษัทฯ ของทั้ง SET และ MAPTAPHUT ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในระดับสูงสุดและต่ำสุด โดยกลุ่มที่มากที่สุด คือ ผู้บริโภคและชุมชน ส่วนกลุ่มที่น้อยที่สุด คือ สหภาพแรงงาน และ NGO ผลการศึกษาเชิงเปรียบเทียบด้วยวิธีการหาค่าอัตราส่วนเปรียบเทียบ (Ratio) พบว่า ค่าเฉลี่ยแสดงระดับความสามารถของ MAPTAPHUT มีสัดส่วนของค่าคะแนนเฉลี่ยที่สูงกว่าของ SET และ SET_INDUS คิดเป็นระดับปัจจัยร้อยละ 92 และ 81 ของทั้งสองกลุ่มการศึกษา ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม การทดสอบทางสถิติแบบ T-Test Independent ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลการศึกษาในระดับประเด็นย่อยจำนวนทั้งสิ้น 88 ประเด็นย่อย พบว่า ทั้งการเปรียบเทียบของ MAPTAPHUT กับ SET และ SET_INDUS ไม่มีความแตกต่างกันเลยถึง ร้อยละ 75 และ 85 ตามลำดับ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จากผลการศึกษาทั้งหมดของการศึกษานี้สรุปได้ว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมในภาพรวมของ SET และ MAPTAPHUT มีแนวโน้มอยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับที่กฎหมายกำหนด หรือเรียกว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นระดับเชิงรุก (Proactive Environmental Management) ได้ ด้วยระดับความสามารถของกระบวนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง แต่อย่างไรก็ตามค่าคะแนนเฉลี่ยที่สูงกว่าของ MAPTAPHUT สามารถอธิบายได้ว่า การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (MAPTAPHUT) อาจจะมีแรงกดดันทางด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่จับตามากกว่าการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งเป็นเหตุผลมาจาก การเป็นเขตควบคุมมลพิษ  ปัญหามลพิษและสุขภาพประชาชน อุบัติเหตุและอุบัติภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์การธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จึงให้ความสำคัญต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์การในระดับที่สูงกว่ากลุ่มองค์การธุรกิจในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้งในภาพรวม (SET) และธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทสินค้าอุตสาหกรรม (SET_INDUS)
This research aims to study the environmental management’s competency level and comparative study of environmental management processes of 2-study group between the 7-business sector in listed companies of the stock exchange of Thailand (SET) and Industrial companies in Maptaphut industrial Estate in Rayong Province (Maptaphut). Analyzing 7 organizational factors and 13 environmental management processes factors with 188 sub-issues affecting the environmental management’s competence level, the sampling data collected and statistical analyzed from 101 companies of SET in 2017 out of the total 596 companies as well as 31 companies of MAPTAPHUT in 2018 out of the total 112 companies by closed-end questionnaires and documentary study. The results found that the environmental management’s competence level of SET in the overall market was at the high level. The highest score was agro & food industry sector. and the lowest score was technology sector. In overall SET, the industrial sector gained the closest scores to the averages of SET and might be the representative of listed companies in terms of environment management’s competence level in Thailand. Considering Maptaphut was also high level and higher than SET but less than agro & food industry sector. By focusing at organizational factors, SET was found that sustainable consumption and production as well as environmental reports were top priorities while operating environmental standard and material flow management factor were second priorities. On Maptaphut was found environmental report was the first priorities while sustainable consumption and production,  environmental standard and material flow management factor were second priorities. On the other hand, SDGs and environmental R&D were the least important priorities among factors both of SET and Maptaphut. SDGs however would have been more recognized at the present time. For environmental management process factors, SET and also Maptaphut hit the highest scores in environmental management factor and corporate environmental values and norms factor. The lowest scores appeared to be environmental relationship with suppliers factor and environmental management accounting factor in both group of study. In corporate stakeholders factor, Maptaphut also gained less scores however analyzing sub-issues in the factor SET and Maptaphut obtained both maximum and the minimum scores. The stakeholders that the market concerned most were consumer and community while labor union and NGOs were the stakeholders that the companies concerned least. The result of comparative study by using was the average score of the environmental management’s competence level of Maptaphut is higher than SET and SET_Indus at 92% and 81% respectively. Nevertheless t-test Independent at 95% confidence level with the average scores of 88 sub-issues found that 75% and 85% of total sub-issues between Maptaphut and  SET as well as SET_Indus were not different. In overall, Environmental Management of SET and Maptaphut trend to implement more than legal compliances which called proactive environmental management level. However Maptaphut gained higher average scores than SET, so we concluded that Maptaphut might be pressured from external factors about environmental impacts more than SET in order to be in an pollution control area, local people’s polluted health reason, environmental losses and accidents reason and in addition to people participation in environmental movement. For these reasons the business organizations in Maptaphut Industrial Estate would take more concerns in environmental management processes than SET and SET_Indus.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564

Subject(s):

การจัดการสิ่งแวดล้อม
องค์กรธุรกิจ

Keyword(s):

e-Thesis
ความยั่งยืนทางธุรกิจ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

405 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5547
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b212360.pdf ( 1.23 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [91]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×