ทัศนคติของประชาชนต่อแนวทางการแก้ไขฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กรุงเทพมหานคร
by ศิริลักษณ์ เจริญรัมย์
Title: | ทัศนคติของประชาชนต่อแนวทางการแก้ไขฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กรุงเทพมหานคร |
Other title(s): | The attitudes of people towards the guideline of PM2.5 solving in Bangkok |
Author(s): | ศิริลักษณ์ เจริญรัมย์ |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.36 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริม และสนับสนุนต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลแบบสอบถามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 เขต ซึ่งประชาชนต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สุ่มตัวอย่างแบบโควตา ได้แก่ เขตพญาไท จตุจักร บางซื่อ ราชเทวี ห้วยขวาง บางกะปิ พระโขนง สะพานสูง ลาดกระบัง และหนองจอก จำนวน 400 ตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างประชาชนแต่ละเขตแบบสะดวก การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณาและเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากนั้นนำข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้ SWOT Analysis และ TOWS matrix เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
ผลการศึกษาจากแบบสอบถามพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา PM2.5 อยู่ในระดับมาก ( X̅ = 0.76) ทัศนคติของประชาชนต่อแนวทางแก้ไขปัญหา PM2.5 อยู่ในช่วงคะแนนระดับมากที่สุด ( X̅ = 4.52) การมีส่วนร่วมประชาชนต่อแนวทางแก้ไขปัญหา PM2.5 อยู่ในระดับมาก ( X̅ = 3.58) และความคิดเห็นของประชาชนต่อผลกระทบในการป้องกัน PM2.5 อยู่ในช่วงคะแนนระดับมาก ( X̅ = 0.84) โดยผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางในการแก้ไขปัญหา PM2.5 ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีผลต่อทัศนคติของประชาชนต่อแนวทางแก้ไขปัญหา PM2.5 ในส่วนผลการทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติ พบว่า ความรู้ความเข้าใจของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และความคิดเห็นของประชาชนมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการวิเคราะห์จุดอ่อนและอุปสรรคจากแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก มีหน่วยงานรับผิดชอบสนับสนุนเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดหรือขั้นตอนในการปฏิบัติและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน มีข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่รองรับระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง การประชาสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นเฉพาะฤดูกาล ดังนั้นแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนต่อการแก้ไข PM2.5 ได้แก่ การออกกฏหมายในการตรวจสอบและติดตามฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ภายใต้กฎหมายอากาศสะอาด การกำหนดรายละเอียดหรือขั้นตอนในการปฏิบัติและแผนปฏิบัติการให้มีความชัดเจน การสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกกับกลุ่มเป้าหมายในช่วงก่อนวิกฤตฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน และทําอย่างต่อเนื่องผ่านทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | มลพิษทางอากาศ -- การจัดการ
ฝุ่น -- การจัดการ ฝุ่น -- ไทย -- กรุงเทพ |
Keyword(s): | e-Thesis
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน PM2.5 |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 202 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5550 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|