การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่
by อธิญาพรรณ ศรีบุญชำ
Title: | การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ |
Other title(s): | Prediction of land use change in Lam Dom Yai subwatershed |
Author(s): | อธิญาพรรณ ศรีบุญชำ |
Advisor: | ฆริกา คันธา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.35 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เป็นพื้นที่เกษตรที่สำคัญของลุ่มน้ำมูลและจังหวัดอุบลราชธานี จากการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเข้มข้น ร่วมกับปัญหาภัยแล้ง พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และมลพิษทางน้ำในพื้นที่ดังกล่าว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เพื่อคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาด้วยแบบจำลอง Markov Model และศึกษาแนวโน้มและเสนอแนะแนวทางในการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ให้สอดคล้องตามศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Research) โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์จากหน่วยงานต่างๆ นอกจากนั้นยังรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ และกระบวนการกลุ่ม (Focus Group) จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการใช้ที่ดิน การศึกษานี้ได้เปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษาช่วงปี พ.ศ.2542 2552 และปี พ.ศ.2562 ศึกษาแรงขับเคลื่อน (Driver) ภาวะกดดัน (Pressures) สถานภาพทางทรัพยากร (Status) ผลกระทบ (Impact) และการแก้ไขปัญหา (Response) หรือ DPSIR ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ รวมถึงการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยแบบจำลอง Markov Chain ในปี พ.ศ. 2572
ผลการศึกษาพบว่า ราคาสินค้าเกษตรและนโยบายทางการเกษตรมีผลสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่โดยเฉพาะพื้นที่เกษตร ซึ่งเกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรเพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้ง ร่วมกับการส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกรในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยหน่วยงานทั้งในท้องถิ่นและหน่วยงานส่วนกลาง
การคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2572 นั้นพบว่า พื้นที่นา พื้นที่ป่า ลดลงไปมากที่สุด หากพิจารณารายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตร่วมกับกรอบแนวคิด DPSIR พบว่า ในปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ มีแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่พบว่า มีการขยายตัวรองรับภาคเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริมการปลูกยางของสหกรณ์กองทุนสวนยาง (ฮักลำโดมใหญ่) เป็นต้น ในอนาคต เกษตรกรอาจมีการปรับเปลี่ยนจากการทำนามาทำเกษตรกรรมอื่นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่นามีจำนวนลดลง พื้นที่ป่าลดลงจากการรุกล้ำเพื่อปลูกมันสำปะหลังและยางพารา เนื่องจากกรมส่งเสริมการเกษตรมีการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย หรือเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (หลังนา) ปี 2564 เป็นต้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าวรอบที่ 2 ดังนั้นมีการคาดว่า จะมีการปลูกพืชไร่ มันสำปะหลัง เพิ่มมากขึ้น
แนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดินที่สำคัญ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้การปลูกพืชสอดคล้องตามศักยภาพ และทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ ควรเร่งรัดจัดทำโครงการเพื่อจัดหาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาของเกษตรกรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เกษตร และ ลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก และให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตรต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของเกษตรกร |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | ที่ดินเพื่อการเกษตร -- ไทย -- อุบลราชธานี |
Keyword(s): | e-Thesis
การใช้ประโยชน์ที่ดิน แบบจำลองการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 158 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5551 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|