• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่

by อธิญาพรรณ ศรีบุญชำ

ชื่อเรื่อง:

การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Prediction of land use change in Lam Dom Yai subwatershed

ผู้แต่ง:

อธิญาพรรณ ศรีบุญชำ

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ฆริกา คันธา

ชื่อปริญญา:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2564

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2021.35

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เป็นพื้นที่เกษตรที่สำคัญของลุ่มน้ำมูลและจังหวัดอุบลราชธานี จากการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเข้มข้น ร่วมกับปัญหาภัยแล้ง พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และมลพิษทางน้ำในพื้นที่ดังกล่าว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เพื่อคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาด้วยแบบจำลอง Markov Model และศึกษาแนวโน้มและเสนอแนะแนวทางในการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ให้สอดคล้องตามศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Research) โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์จากหน่วยงานต่างๆ นอกจากนั้นยังรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ และกระบวนการกลุ่ม (Focus Group) จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการใช้ที่ดิน การศึกษานี้ได้เปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษาช่วงปี พ.ศ.2542 2552 และปี พ.ศ.2562 ศึกษาแรงขับเคลื่อน (Driver) ภาวะกดดัน (Pressures) สถานภาพทางทรัพยากร (Status) ผลกระทบ (Impact) และการแก้ไขปัญหา (Response) หรือ DPSIR ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ รวมถึงการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยแบบจำลอง Markov Chain ในปี พ.ศ. 2572 ผลการศึกษาพบว่า ราคาสินค้าเกษตรและนโยบายทางการเกษตรมีผลสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่โดยเฉพาะพื้นที่เกษตร ซึ่งเกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรเพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้ง ร่วมกับการส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกรในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยหน่วยงานทั้งในท้องถิ่นและหน่วยงานส่วนกลาง การคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2572 นั้นพบว่า พื้นที่นา พื้นที่ป่า ลดลงไปมากที่สุด หากพิจารณารายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตร่วมกับกรอบแนวคิด DPSIR พบว่า ในปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ มีแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่พบว่า มีการขยายตัวรองรับภาคเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริมการปลูกยางของสหกรณ์กองทุนสวนยาง (ฮักลำโดมใหญ่) เป็นต้น ในอนาคต เกษตรกรอาจมีการปรับเปลี่ยนจากการทำนามาทำเกษตรกรรมอื่นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่นามีจำนวนลดลง พื้นที่ป่าลดลงจากการรุกล้ำเพื่อปลูกมันสำปะหลังและยางพารา เนื่องจากกรมส่งเสริมการเกษตรมีการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย หรือเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (หลังนา) ปี 2564 เป็นต้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าวรอบที่ 2  ดังนั้นมีการคาดว่า จะมีการปลูกพืชไร่ มันสำปะหลัง เพิ่มมากขึ้น แนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดินที่สำคัญ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้การปลูกพืชสอดคล้องตามศักยภาพ และทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ ควรเร่งรัดจัดทำโครงการเพื่อจัดหาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาของเกษตรกรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เกษตร และ ลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก และให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตรต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของเกษตรกร
Lam Dom Yai subwatershed is a significant agricultural area in the Mun watershed ; the province of Ubon Ratchathani. As a result of the excessive land use combined with the drought is occurring environmental deterioration and water pollution in Lam Dom Yai subwatershed. This study aimed to study the land use change, Markov Chain Model was used to forecast land use in compliance with development requirements and study trends and make recommendations for land use in Lam Dom Yai subwatershed based on area's potential. This study is a mixed-methods research including secondary data was accumulated from documents connected with geographic information and primary data was accumulated with interview and focus group process with local stakeholders. The land usage in the study area was compared in 1999, 2009 and 2019. To study drivers, pressures, resource status, impact, and response; DPSIR on land use in Lam Dom Yai subwatershed, including forecasts of land use change using the Markov Chain Model in 2029. The results showed that agricultural prices and policies had a major impact on land use change in Lam Dom Yai subwatershed, particularly in agricultural areas. which farmers have adapted their farming models to deal with drought issues working with both local and central government sector for promoting farmers' potential. Forecasts of land use change, it was found that rice fields areas will decreased in 2029. When the details of future changes are considered integrated with the DPSIR framework, The results showed that currently Lam Dom Yai subwatershed has a driving force in land use change. There has been an expansion to support the economic sector, such as the Rubber Replanting Fund Cooperatives encouragement of rubber planting (Hug Lam Dom Yai). In the future, farmers may have to transition from rice fields to another fields. The quantity of rice fields has decreased as a result. In the forest areas section has decreased from the increased of cassava and rubber growing. Consequently, The Department of Agricultural Extension has encouraged farmers to grow crops by useless water or participating in various government projects, such as Diversified Crops Promotion Project in 2021  as alternative for farmers to plant other crops instead of the second round of rice planting. There will be more fields crops and cassava will be planted. Important land use planning guidelines include: changing farmer behavior to cultivate crops based on their potential and local natural resources, particularly water resources. Projects to establish minor water sources in farmer's fields should be moved forward as quickly as possible with the appropriate agencies and reduce the use of chemicals in agriculture and educate farmers about the potential effects of agricultural chemicals on the natural resources, the environment and the health of farmers.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ที่ดินเพื่อการเกษตร -- ไทย -- อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

e-Thesis
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
แบบจำลองการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

158 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5551
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b212359.pdf ( 3,813.22 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [86]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×