• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Dissertations
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Dissertations
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

Psycho-social factors as correlates of buddhist successful aging in attendees of elderly school projects

by Suchinkanlayanatham Wichienthano

ชื่อเรื่อง:

Psycho-social factors as correlates of buddhist successful aging in attendees of elderly school projects

ผู้แต่ง:

Suchinkanlayanatham Wichienthano

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

Duangduen Bhanthumnavin

ชื่อปริญญา:

Doctor of Philosophy

ระดับปริญญา:

Doctoral

สาขาวิชา:

Social Development Administration

คณะ/หน่วยงาน:

School of Social and Environmental Development

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

National Institute of Development Administration

วันที่เผยแพร่:

2563

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2020.43

หน่วยงานที่เผยแพร่:

National Institute of Development Administration

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

This research was a correlational-comparative study. Its objectives were 1) to study the effectiveness of elderly school projection, 2) to study the relationship between psychological and/or situational factors associated with the Buddhist successful aging of elderly, and 3) to indicate the importance predictors and predict values of causal variables in terms of psychological trait, situational factor and psychological state groups toward Buddhist successful aging. Based on interactionism model, this research employed a multi-stage sampling method. The sample were 395 elderly in Chiang Rai Province, consisted of 200 males (50.60%) and 195 females (49.40%). The average age was 69 years old. The average number of descendants was 2 persons. The average number of close friends was 5 persons. There were 4 groups of variables as follows. 1) Dependent variable group was Buddhist successful aging behavior, consisted of 3 variables, namely, social support giving behavior, Buddhist lifestyle, and Buddhist happiness. 2) Situational factor group consisted of 4 variables, namely, elderly school attendance, family relationship, role model, and social network. 3) Psychological trait group consisted of 5 variables, namely, Buddhist belief and practice, core self-evaluation, generativity, health stress, and depression. 4) Psychological state group consisted of 3 variables, namely, attitudes toward behavior, perceived Buddhist behavioral control, self-efficacy in helping others. There were 14 measures. Most of the measures were in the form of summated rating scales. Item qualities, e.g., discrimination, and Item-total correlation were computed. Confirmatory factor analysis was used to determine construct validity. The reliability score of each measure ranged between 0.56 to 0.87. Data were analyzed in total sample and several subgroups categorized by biosocial background. The important findings were as follows.First, the effectiveness of elderly school project was found that school attending elderly reported more social support giving behavior, more Buddhist lifestyles, and more favorable attitudes towards behavior than non-attending school elderly. These results were found in total sample and many subgroups, especially elderly with more close friends. Second, attending school elderly with high generativity and high perceived Buddhist behavioral control reported more social support giving behavior, and more attitudes toward behavior than non-attending school elderly with low generativity and low perceived Buddhist behavioral control. These results were found in some subgroups, especially in male elderly group. Third, the finding in total sample from MRA using 12 variables as predictors were as follows. 1) All six predictors yielded predictive percentage of 42.69% on social support giving behavior. The predictors ordered in descending were perceived Buddhist behavioral control, role model, elderly school attendance, Buddhist belief and practice, family relationship, and self-efficacy in helping others. The predictive percentage range of eight subgroups was between 33.27% and 55.40%. 2) All five predictors yielded predictive percentage of 24.60%% on Buddhist lifestyle. The predictors ordered in descending were family relationship, self-efficacy in helping others, Buddhist belief and practice, role model, and Elderly school attendance. The predictive percentage range of eight subgroups was between 24.26% and 34.71%. 3) All four predictors yielded predictive percentage of 49.68% on Buddhist happiness. The predictors ordered in descending were family relationship, social network, core self-evaluation, and health stress. The predictive percentage range of eight subgroups was between 45.39% and 58.28%. From this study, there were suggestions for development as follows. First, the research results indicated that the elderly school project is benefit to elderly in several, especially, male elderly, and elderly with less descendants in terms of social support giving behavior, Buddhist lifestyle, and attitudes toward behavior. Second, self-efficacy, perceived Buddhist behavioral control, and attitudes toward behavior should be heightened in order to increase Buddhist successful aging in Thai elderly. Finally, role model for elderly is still one of the important factors affecting attitude, perceived behavioral control, and self-efficacy of the elderly. Thus, good exemplars, especially from significant others in family, community, society, should be promoted.
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จเชิงพุทธของผู้สูงวัย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตลักษณะ และ/หรือ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จเชิงพุทธของผู้สูงวัย และ 3) เพื่อระบุตัวทำนายที่สำคัญและพลังในการทำนายของตัวแปรเชิงสาเหตุในกลุ่มปัจจัยทางจิตลักษณะ  ปัจจัยสถานการณ์ และ จิตลักษณะตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จเชิงพุทธของผู้สูงวัย ตามทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม การวิจัยนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้สูงอายุจำนวน 395 คน ในจังหวัดเชียงราย เป็นเพศชาย 200 คน (ร้อยละ 50.6) เพศหญิง 195 คน (ร้อยละ 49.4) อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 69 ปี จำนวนลูกหลานเฉลี่ยอยู่ที่ 2 คน จำนวนเพื่อนสนิทเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คน ตัวแปรในการวิจัยจำแนกออกเป็น 4 กลุ่มดังต่อไปนี้ 1) กลุ่มตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความสำเร็จเชิงพุทธ ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมสนับสนุนทางสังคม วิถีชีวิตแบบพุทธ และความสุขแบบพุทธ 2) กลุ่มปัจจัยสถานการณ์ ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ การเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ ความสัมพันธ์ในครอบครัว แบบอย่างการสงเคราะห์ผู้อื่น เครือข่ายทางสังคม 3) กลุ่มจิตลักษณะเดิม ประกอบด้วย 5 ตัวแปร ได้แก่ ความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธ การประเมินแก่นแห่งตน การสร้างขยาย ความเครียดด้านสุขภาพ และ ความซึมเศร้า และ 4) กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ ทัศนคติต่อพฤติกรรม ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเชิงพุทธ และประสิทธิผลแห่งตนในการช่วยเหลือผู้อื่น แบบวัดในการวิจัยมี 14 แบบวัด มีลักษณะเป็นมาตรวัดประเมินรวมค่า วิเคราะห์เนื้อหาคุณภาพแบบวัด โดยทำการหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ และหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมของแบบวัดที่ไม่มีข้อนั้นรวมอยู่  ทำการพิสูจน์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด โดยนำข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์ของแต่ละแบบวัด มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.56 - 0.87 ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์ทั้งในกลุ่มรวม และ ในกลุ่มย่อยจำแนกตามลักษณะชีวสังคมภูมิหลังของผู้สูงอายุ จากการวิจัยพบผลที่สำคัญดังต่อไปนี้ ประการแรก ประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงวัยที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุมีการสนับสนุนทางสังคมแบบพุทธ วิถีชีวิตแบบพุทธ และทัศนคติต่อพฤติกรรม มากกว่าผู้สูงวัยที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยพบผลเช่นนี้ในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงวัยที่มีเพื่อนสนิทมาก ประการที่สอง ผู้สูงวัยที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการสร้างขยายสูงและมีความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเชิงพุทธสูง มีการสนับสนุนทางสังคม และทัศนคติต่อพฤติกรรมมากกว่า ผู้สูงวัยที่ไม่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการสร้างขยายต่ำ และมีความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเชิงพุทธต่ำ ผลเช่นนี้พบในกลุ่มย่อยบางกลุ่มโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยเพศชาย ประการที่สาม ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้ปัจจัยทางจิตลักษณะและสถานการณ์ทั้งหมด 9 ตัวแปรเป็นตัวทำนายจิตลักษณะตามสถานการณ์ 3 ตัวแปร ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ 3 มีข้อค้นพบที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1) ตัวทำนายทั้ง 3 ตัวแปร สามารถทำนายทัศนคติต่อพฤติกรรมได้ร้อยละ 53.46 ในกลุ่ม รวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ความเชื่อและการปฏิบัติเชิงพุทธ ความซึมเศร้า และ การมีแบบอย่าง ตามลำดับ 2) ตัวทำนายทั้ง 7 ตัวแปร สามารถทำนายความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเชิงพุทธได้ร้อยละ 55.30 ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ความซึมเศร้า การมีแบบอย่าง เครือข่ายทางสังคม ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความเชื่อและการปฏิบัติเชิงพุทธ การสร้างขยาย และการเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ ตามลำดับ และ 3) ตัวทำนายทั้ง 2 ตัวแปร สามารถทำนายประสิทธิผลแห่งตนในการช่วยเหลือผู้อื่น ได้ร้อยละ 51.02 ในกลุ่มผู้สูงวัยที่มีลูกหลานน้อย โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ การสร้างขยาย และ การมีแบบอย่าง ตามลำดับ ประการที่สี่ ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้ปัจจัยทางจิตลักษณะ สถานการณ์และจิตลักษณะตามสถานการณ์ ทั้งหมด 12 ตัวแปรเป็นตัวทำนายพฤติกรรมความสำเร็จเชิงพุทธของผู้สูงวัย 3 ตัวแปร ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ 4 มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ 1) ตัวทำนายทั้ง 2 ตัวแปร สามารถทำนายพฤติกรรมสนับสนุนทางสังคมได้ร้อยละ 45.66 ในกลุ่มผู้สูวัยที่มีลูกหลานน้อย โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือประสิทธิผลแห่งตนในการช่วยเหลือผู้อื่น และ ความเชื่อและการปฏิบัติเชิงพุทธ ตามลำดับ 2) ตัวทำนายทั้ง 2 ตัวแปร สามารถทำนายวิถีชีวิตแบบพุทธได้ร้อยละ 26.32 ในกลุ่มผู้สูงวัยเพศหญิง โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ประสิทธิผลแห่งตนในการช่วยเหลือผู้อื่น และ ความซึมเศร้า 3) ผลการวิเคราะห์ความสุขแบบพุทธ ไม่สนับสนุนสมมติฐานทั้งในกลุ่มรวมและทุกกลุ่มย่อย อย่างไรก็ตาม พบว่าตัวทำนายทั้ง 4 ตัวแปรสามารถทำนายความสุขแบบพุทธได้ร้อยละ 49.68 ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัว เครือข่ายทางสังคม การประเมินแก่นแห่งตน และความเครียดด้านสุขภาพ ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้คือ ประการแรก ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงวัยเพศชายและผู้สูงวัยที่มีลูกหลานมาก จะมีประโยชน์ในแง่ของการมีพฤติกรรมสนับสนุนทางสังคม วิถีชีวิตแบบพุทธ และทัศนคติต่อพฤติกรรม ประการที่สอง ประสิทธิผลแห่งตน ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และ ทัศนคติต่อพฤติกรรม สามารถช่วยพัฒนาความสำเร็จเชิงพุทธของผู้สูงอายุในประเทศไทยได้สูง และประการสุดท้าย การมีแบบอย่างสำหรับผู้สูงอายุยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อพฤติกรรม ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเชิงพุทธ และ ประสิทธิผลแห่งตน ของผู้สูงอายุ ดังนั้นควรมีการส่งเสริมแบบอย่างที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบุคคลสำคัญในครอบครัว ชุมชน และสังคม

รายละเอียดเพิ่มเติม:

Thesis (Ph.D. (Social Development Administration))--National Institute of Development Administration, 2020

หัวเรื่องมาตรฐาน:

Aging -- Psychological aspects

คำสำคัญ:

e-Thesis
Psycho-social
โรงเรียนผู้สูงอายุ
Elderly school
Interactionism model
Buddhist successful aging

ประเภททรัพยากร:

Dissertation

ความยาว:

173 leaves

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

eng

สิทธิในการใช้งาน:

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5557
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b212166.pdf ( 7,807.29 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Dissertations [59]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×