แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในบริบทพื้นที่ขัดแย้งกรณีศึกษา: จังหวัดยะลา
by มูฮำหมัดอาดีส เหล็กดี
Title: | แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในบริบทพื้นที่ขัดแย้งกรณีศึกษา: จังหวัดยะลา |
Other title(s): | Guidelines for tourism management in the context of conflict area study of Yala Province |
Author(s): | มูฮำหมัดอาดีส เหล็กดี |
Advisor: | ไพฑูรย์ มนต์พานทอง |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2020.76 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในบริบทพื้นที่ขัดแย้ง กรณีศึกษาจังหวัดยะลา” วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดยะลา 2) เพื่อประเมินศักยภาพและความพร้อมด้านการจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดยะลา 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดยะลา และ 4) เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดยะลาภายใต้บริบทความขัดแย้งในจังหวัดยะลา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method Methodology) ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวและมีการค้างคืนในจังหวัดยะลา จำนวนทั้งสิ้น 400 ชุด และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวนทั้งสิ้น 22 ราย
ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดยะลา เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ นิยมเดินทางท่องเที่ยวซ้ำ ชื่นชอบความเป็นอิสระ ให้ความสำคัญกับสื่อสังคมออนไลน์ โดยสื่อดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาข้อมูลเพื่อการวางแผนการเดินทาง นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญต่อการวางแผนการเดินทางล่วงหน้า และให้ความสำคัญกับกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
ศักยภาพและความพร้อมต่อการจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดยะลาในปัจจุบันนั้น อยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการตลาดระหว่างผู้ประกอบการภาคเอกชนในพื้นที่ และหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่พบว่ายังขาดการสนับสนุนและส่งเสริมการทำงานระหว่างกัน รวมถึงระบบการขนส่งสาธารณะที่มีในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวและขาดการเชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ อีกด้วย |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | นักท่องเที่ยว
ความปลอดภัย การท่องเที่ยว -- ยะลา |
Keyword(s): | e-Thesis
พื้นที่ขัดแย้ง พฤติกรรมนักท่องเที่ยว |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 275 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5567 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|