ผลสัมฤทธิ์ของการกวดวิชาและการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
by สุวิมล จีระทรงศรี
Title: | ผลสัมฤทธิ์ของการกวดวิชาและการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
Other title(s): | Effectiveness of tutorial and admission to public university |
Author(s): | สุวิมล จีระทรงศรี |
Advisor: | เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
Degree department: | คณะสถิติประยุกต์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2009 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิสัยในการเรียนของนักเรียนที่จะสอบเข้า มหาวิทยาลัยและศึกษาผลสัมฤทธ์ของการกวดวิชาที่มีต่อการสอบผ่านเข้าคณะ/สถาบันอุดมศึกษา ของรัฐที่ต้องการ โดยใช้ตัวอย่างนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2551 คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยของรัฐที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 228 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้นสองขั้น และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะนิสัยในการเรียน การเรียนกวดวิชาและ ผลการสอบคัดเลือกเข้าคณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยสถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีปัจจัย เดียวการทดสอบแบบไค้กําลังสองและการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะนิสัยในการเรียนโดยรวมมีความสัมพันธ์กับผลการสอบ คัดเลือกเข้าคณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเป็นอันดับหนึ่งอย่างมีนัยสําคัญ แต่เมื่อจําแนกลักษณะนิสัย ในการเรียนออกเป็นองค์ประกอบด้านการหลีกเลี่ยงการผลัดเวลาและด้านวิธีการทํางาน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ทั้งกับการเรียนกวดวิชาและผลการสอบคัดเลือก ฯ นอกจากนี้ยังพบว่า การอ่าน หนังสือล่วง หน้าก่อนเข้าเรียน เป็นรื่องเดียวในด้านวิธีการทํางาน ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญ กับการเรียนกวดวิชา และการมีเทคนิคการอ่านหนังสือและเทคนิคการจําเป็นเรื่องเดียวในด้าน วิธีการทํางานที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบคัดเลือกเข้าคณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเป็นอันดับ หนง การศึกษาผลการสอบคัดเลือกฯ มีความสัมพันธ์กับการเรียนกวดวิชาอย่างมีนัยสําคัญ โดยผู้ที่ เรียนกวดวิชามีโอกาสสอบได้คณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนสูงกว่าผู้ที่ไม่เรียนกวดวิชา 10.800 เท่า อย่างไรก็ตาม ผลการสอบคัดเลือกฯ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย ได้แก่ประเภทของโรงเรียนที่จบการศึกษาและการมีเทคนิคการอ่านและเทคนิคการจํา ข้อเสนอแนะสําหรับการศึกษาครั้งนี้มีหลายประการ ได้แก่นักเรียนควรสร้างลักษณะนิสัย เดินในเรื่องการมีเทคนิคการอ่านและเทคนิคการจํา โรงเรียนและครูควรมีการพัฒนาคุณภาพการ สอน ช่วยเหลือและส่งเสริมการสร้างลักษณะนิสัยในการเรียนที่ดีให้แก่นักเรียน และท้ายที่สุด ขอบเขตและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบเข้าต้องประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษา |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009 |
Subject(s): | นักเรียน -- การสอบ
นักเรียน -- พฤติกรรม การสอนเสริม |
Keyword(s): | การสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษา |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 13, 115 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/557 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|