ปัจจัยอุปสงค์ อุปทาน ทางการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบอกต่อ
by กิ่งกาญจน์ สินทรัพย์
Title: | ปัจจัยอุปสงค์ อุปทาน ทางการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบอกต่อ |
Other title(s): | Determinants of demand and supply in tourism related to word of mouth behavior |
Author(s): | กิ่งกาญจน์ สินทรัพย์ |
Advisor: | รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2020.74 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) สำรวจ สังเคราะห์และจำแนก ลักษณะการแสดงความคิดเห็นเชิงลบบนเว็บไซต์ที่สำรองห้องพักออนไลน์ โดยจำแนกปัญหาที่พบตามส่วนประสมทางการตลาด 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของอุปทาน (ทำเล ระดับดาว ขนาดโรงแรม ระบบการบริหาร ระดับราคา) กับการเลือกประเด็นบอกต่อทางลบ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของอุปสงค์ (เพศ ฤดูกาล วัตถุประสงค์การเดินทาง ผู้ร่วมเดินทาง ประเทศ และกลุ่มประเทศ) กับการเลือกประเด็นบอกต่อทางลบ นอกจากนี้ยังวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมที่พักแรม โดยการวิจัยเชิงสังเกต จากความคิดเห็นทางลบบนเว็บไซต์ออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับที่พักแรมของประเทศไทย จำนวน 3713 ความคิดเห็น
โดย ผลการวิจัย พบว่า
1. การบอกต่อทางลบที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือด้านผลิตภัณฑ์(Product) ร้อยละ 35 รองลงมา คือด้านพนักงานผู้ให้บริการ(People) ร้อยละ 22 ด้านกระบวนการบริการ(Process) ร้อยละ 17 ด้านลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม (Physical Evidence) ร้อยละ 11 ด้านสถานที่ (Place) ร้อยละ 6 ด้านราคา(Price) ร้อยละ 6 และ ด้านการส่งเสริมการตลาด(Promotion) ร้อยละ 3
2. ลักษณะของอุปสงค์ ในด้านของ เพศ ผู้ร่วมเดินทาง ประเทศ และกลุ่มประเทศ มีความสัมพันธ์กับการเลือกประเด็นการบอกต่อทางลบในบางประเด็น และมีขนาดของความสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับน้อย ถึง ระดับมาก
3. ลักษณะของอุปทาน ในด้านของ ทำเล ระดับดาว ขนาดโรงแรม ระบบการบริหาร และระดับราคา มีความสัมพันธ์กับการเลือกประเด็นการบอกต่อทางลบในบางประเด็น และมีขนาดของความสัมพันธ์ในระดับน้อย ถึง ปานกลาง
4. แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 1) แนวทางในการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และองค์ประกอบทางกายภาพ 2) แนวทางการพัฒนากระบวนการให้บริการและพนักงานผู้ให้บริการ 3) แนวทางการพัฒนาด้านสถานที่ ราคา และการส่งเสริมทางการตลาด |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | ที่พักนักท่องเที่ยว
อุปสงค์ อุปทาน |
Keyword(s): | e-Thesis
การบอกต่อออนไลน์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 150 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5572 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|