แนวทางการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์จังหวัดสตูล
by สิทธา อนันธขาล
Title: | แนวทางการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์จังหวัดสตูล |
Other title(s): | Guidelines for the development of tourist guide potential in Satun Province |
Author(s): | สิทธา อนันธขาล |
Advisor: | ไพฑูรย์ มนต์พานทอง |
Degree name: | การจัดการมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2020.90 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงานที่มีต่อศักยภาพมัคคุเทศก์จังหวัดสตูล 2) เพื่อประเมินศักยภาพมัคคุเทศก์จังหวัดสตูล 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์จังหวัดสตูล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดสตูล โดยใช้บริการมัคคุเทศก์ในพื้นที่จังหวัดสตูล จำนวน 400 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย สถิติ t-test และ F-test รวมถึงประเมินศักยภาพมัคคุเทศก์จังหวัดสตูล ด้วยเทคนิค Importance-Performance Analysis (IPA)
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสำคัญที่มีต่อศักยภาพมัคคุเทศก์จังหวัดสตูลโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพมัคคุเทศก์ ด้านทัศนคติ ด้านทักษะ ด้านบุคลิกภาพ และด้านความรู้ ตามลำดับ ระดับผลการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์จังหวัดสตูลโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทัศนคติ ด้านบุคลิกภาพ ด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพมัคคุเทศก์ ด้านทักษะ ตามลำดับ และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้
เมื่อประเมินศักยภาพมัคคุเทศก์จังหวัดสตูลด้วยเทคนิค IPA (Importance-Performance Analysis) พบว่า ศักยภาพในด้านการเตรียมความพร้อมของมัคคุเทศก์ก่อนการรับและส่งนักท่องเที่ยว การปฏิบัติระหว่างการนำเที่ยวอย่างครบวงจรในเรื่องต่างๆ เมื่อสิ้นสุดการเดินทางท่องเที่ยวมัคคุเทศก์มีการกล่าวอำลาและตรวจสอบความเรียบร้อยในยานพาหนะ ทักษะการบริการจัดการเวลาที่เหมาะสม ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และความตรงต่อเวลา อยู่ใน Quadrant A (Concentrate Here) เป็นประเด็นที่ต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | มัคคุเทศก์
มัคคุเทศก์ -- สตูล |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 217 leaves |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5586 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|