The development guidelines of communication network management among elderly schools in Chiang Rai Province and Kalasin Province
Files
Issued Date
2020
Issued Date (B.E.)
2563
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
283 leaves
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b121211
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Rights Holder(s)
Physical Location
National Institute of Development Administration. Library and Information Center
Bibliographic Citation
Citation
Panisaya Atijitta (2020). The development guidelines of communication network management among elderly schools in Chiang Rai Province and Kalasin Province. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5591.
Title
The development guidelines of communication network management among elderly schools in Chiang Rai Province and Kalasin Province
Alternative Title(s)
การพัฒนาการจัดการเครือข่ายการสื่อสารของโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงรายและจังหวัดกาฬสินธุ์
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
The study was aimed to study the current situation of communication network management and network communication strategies of the elderly schools in Chiang Rai and Kalasin Provinces, including guidelines for developing network communication of elderly schools towards sustainability. The study is qualitative research, conducted by in-depth interviews and focus group interviews with all concerned people in two groups of elderly schools: strong and developing.
From the study, it was found that at present Kalasin Province has the highest number of elderly schools in the nation, while Chiang Rai Province is the province in which the first elderly school was established. The network management of the elderly schools of both provinces was found to be a part of elderly clubs’ activities at a sub-district level, comprising two main parts: the civic networks, i.e., community leaders, monks, elderly clubs, sub-district and village chiefs, people in the community, academic institutes, and local politicians, and 2) local government networks, i.e., municipality, the Sub-District Administrative Organization (SAO), and sub-district health-promoting hospitals. The schools were established and managed in the form of a committee. Most elderly school leaders in Chiang Rai Province, who were samples of the study, were monks due to socio-cultural context in which people are tied closely to Buddhism whereas most elderly school leaders in Kalasin Province were community leaders due to the northeastern culture, especially Phu Thai ethnicity, which pays high importance to local leaders.
Regarding the network communication strategies, communication in and outside schools was divided into 3 periods: 1) Before the school establishment period in which all elderly schools communicated for compiling community networks, fundraising, and inviting the elderly to participate in schools’ activities through media. 2) After the school establishment period in which all schools communicated their objectives to the elderly who never attended school and general communities, including external agencies for support. 3) During the maintenance of the school networks in which all schools communicated to create morale and motivation for working groups. Besides, they communicated for maintaining good relationships with external networks. For the roles of a sender and receiver, it was found that network members took a role as both senders and receivers, while school leaders played a role as the main senders. Communicated content emphasized the content that was beneficial for school development. In terms of media and channels, the media used in the internal network were activity, personal, and social media, i.e., Line Group, etc. while the external networks were personal, community, social, and traditional or local media.
Moreover, it was found that elderly schools had main concurrent problems of “people” and “funds.” As guidelines for developing “people” issues, elderly schools should have flexible network management. Members should be replaceable and young generations should be encouraged to participate in the network to replace the old members in the future, while communication for maintaining relationships should be conducted continually. For the management of “funds,” elderly schools should have external networks, such as the provincial elderly-school network and government agencies to support information that helps to access governmental funds. Besides, elderly schools should have strong networks and communication strategies that help to create and maintain collaboration in the networks sustainably through the use of a variety of media and channels, especially social media, which can access and acquire support from the new generations, in combination with the use of traditional media for increasing the effectiveness of creating commitment and engagement among local people of the same area.
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการเครือข่ายการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดกาฬสินธุ์ และแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารของโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดความยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน 2 กลุ่ม ได้แก่ โรงเรียนกลุ่มที่เข้มแข็ง และโรงเรียนกลุ่มที่กำลังพัฒนา จากการศึกษาพบว่าสภาพปัจจุบันของจังหวัดกาฬสินธุ์มีโรงเรียนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีโรงเรียนผู้สูงอายุแห่งแรก สภาพการจัดการเครือข่ายในระดับโรงเรียนทั้งสองจังหวัดพบว่าโรงเรียนผู้สูงอายุมีการจัดการเครือข่ายเป็นส่วนหนึ่งกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุในตำบล ที่เครือข่ายประกอบด้วย 2 ภาคส่วนคือ 1) เครือข่ายภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ ชมรมผู้สูงอายุ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในชุมชน สถาบันการศึกษา นักการเมืองท้องถิ่น และ 2) เครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล/อบต. รพ.สต. ร่วมมือกันจัดตั้งและบริหารโรงเรียนในรูปแบบคณะกรรมการ ผู้นำโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงรายมีผู้นำพระสงฆ์เนื่องจากมีบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ผูกพันกับศาสนา ขณะที่ผู้นำโรงเรียนผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นผู้นำชุมชนตามบริบทวัฒนธรรมอีสานและชาติพันธุ์ภูไทที่ให้ความสำคัญกับผู้นำท้องถิ่น ผลการศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่ามีทั้งการสื่อสารภายในและภายนอกโรงเรียนแบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1) ระยะก่อนจัดตั้งโรงเรียน ทุกโรงเรียนมีการสื่อสารเพื่อรวบรวมเครือข่ายชุมชน การระดมทุน และมีการใช้สื่อเพื่อเชิญชวนผู้สูงอายุมาร่วมกิจกรรม 2) ระยะหลังการจัดตั้งโรงเรียน ทุกโรงเรียนมีการสื่อสารวัตถุประสงค์ของโรงเรียนไปยังผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยมาโรงเรียนและชาวชุมชน รวมถึงมีการสื่อสารไปยังหน่วยงานภายนอกเพื่อขอรับการสนับสนุน และ 3) ระยะธำรงรักษาเครือข่ายโรงเรียน ทุกโรงเรียนมีการสื่อสารเพื่อสร้างขวัญกำลังใจกับคณะทำงาน นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอก ในด้านบทบาทการเป็นผู้ส่งสาร (Sender) และผู้รับสาร (Receiver) พบว่าสมาชิกในเครือข่ายทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร ในขณะที่ผู้นำมีบทบาทในฐานะผู้ส่งสารเป็นหลัก ในด้านเนื้อหาสาร (Message) มีการสื่อสารเนื้อหาสารที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน ในด้านช่องทางการสื่อสาร (Channel) มีการใช้เครือข่ายภายในโรงเรียนมีได้แก่ สื่อกิจกรรม สื่อบุคคล สื่อสังคมเช่นไลน์กลุ่ม สื่อที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและชุมชนมีได้แก่ สื่อบุคคล สื่อชุมชน สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อประเพณีท้องถิ่น ผลการศึกษายังพบว่าโรงเรียนผู้สูงอายุมีปัญหาหลักที่สอดคล้องกันในเรื่อง “คน” และเรื่อง “ทุน” แนวทางในการพัฒนาประเด็นเรื่อง “คน” โรงเรียนผู้สูงอายุควรมีการจัดการเครือข่ายภายในอย่างยืดหยุ่น สมาชิกสามารถทำงานแทนกันได้ มีการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมเพื่อทดแทนสมาชิกที่อาจขาดหายไปในอนาคต มีการสื่อสารรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นเรื่อง “ทุน” โรงเรียนควรมีเครือข่ายภายนอกอย่างเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดและหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัดสนับสนุนข่าวสารและแนวทางในการเข้าถึงทุนภาครัฐ ในด้านความยั่งยืนควรมีเครือข่ายที่เข้มแข็งและกลยุทธ์การสื่อสารที่ช่วยสร้างและธำรงความร่วมมือของเครือข่ายผ่านการใช้สื่ออย่างหลากหลาย โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งเข้าถึงและทำให้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผสมผสานกับการใช้สื่อประเพณีเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการสร้างความผูกพันในฐานะชาวท้องถิ่นในพื้นที่เดียวกัน
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการเครือข่ายการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดกาฬสินธุ์ และแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารของโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดความยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน 2 กลุ่ม ได้แก่ โรงเรียนกลุ่มที่เข้มแข็ง และโรงเรียนกลุ่มที่กำลังพัฒนา จากการศึกษาพบว่าสภาพปัจจุบันของจังหวัดกาฬสินธุ์มีโรงเรียนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีโรงเรียนผู้สูงอายุแห่งแรก สภาพการจัดการเครือข่ายในระดับโรงเรียนทั้งสองจังหวัดพบว่าโรงเรียนผู้สูงอายุมีการจัดการเครือข่ายเป็นส่วนหนึ่งกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุในตำบล ที่เครือข่ายประกอบด้วย 2 ภาคส่วนคือ 1) เครือข่ายภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ ชมรมผู้สูงอายุ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในชุมชน สถาบันการศึกษา นักการเมืองท้องถิ่น และ 2) เครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล/อบต. รพ.สต. ร่วมมือกันจัดตั้งและบริหารโรงเรียนในรูปแบบคณะกรรมการ ผู้นำโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงรายมีผู้นำพระสงฆ์เนื่องจากมีบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ผูกพันกับศาสนา ขณะที่ผู้นำโรงเรียนผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นผู้นำชุมชนตามบริบทวัฒนธรรมอีสานและชาติพันธุ์ภูไทที่ให้ความสำคัญกับผู้นำท้องถิ่น ผลการศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่ามีทั้งการสื่อสารภายในและภายนอกโรงเรียนแบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1) ระยะก่อนจัดตั้งโรงเรียน ทุกโรงเรียนมีการสื่อสารเพื่อรวบรวมเครือข่ายชุมชน การระดมทุน และมีการใช้สื่อเพื่อเชิญชวนผู้สูงอายุมาร่วมกิจกรรม 2) ระยะหลังการจัดตั้งโรงเรียน ทุกโรงเรียนมีการสื่อสารวัตถุประสงค์ของโรงเรียนไปยังผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยมาโรงเรียนและชาวชุมชน รวมถึงมีการสื่อสารไปยังหน่วยงานภายนอกเพื่อขอรับการสนับสนุน และ 3) ระยะธำรงรักษาเครือข่ายโรงเรียน ทุกโรงเรียนมีการสื่อสารเพื่อสร้างขวัญกำลังใจกับคณะทำงาน นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอก ในด้านบทบาทการเป็นผู้ส่งสาร (Sender) และผู้รับสาร (Receiver) พบว่าสมาชิกในเครือข่ายทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร ในขณะที่ผู้นำมีบทบาทในฐานะผู้ส่งสารเป็นหลัก ในด้านเนื้อหาสาร (Message) มีการสื่อสารเนื้อหาสารที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน ในด้านช่องทางการสื่อสาร (Channel) มีการใช้เครือข่ายภายในโรงเรียนมีได้แก่ สื่อกิจกรรม สื่อบุคคล สื่อสังคมเช่นไลน์กลุ่ม สื่อที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและชุมชนมีได้แก่ สื่อบุคคล สื่อชุมชน สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อประเพณีท้องถิ่น ผลการศึกษายังพบว่าโรงเรียนผู้สูงอายุมีปัญหาหลักที่สอดคล้องกันในเรื่อง “คน” และเรื่อง “ทุน” แนวทางในการพัฒนาประเด็นเรื่อง “คน” โรงเรียนผู้สูงอายุควรมีการจัดการเครือข่ายภายในอย่างยืดหยุ่น สมาชิกสามารถทำงานแทนกันได้ มีการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมเพื่อทดแทนสมาชิกที่อาจขาดหายไปในอนาคต มีการสื่อสารรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นเรื่อง “ทุน” โรงเรียนควรมีเครือข่ายภายนอกอย่างเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดและหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัดสนับสนุนข่าวสารและแนวทางในการเข้าถึงทุนภาครัฐ ในด้านความยั่งยืนควรมีเครือข่ายที่เข้มแข็งและกลยุทธ์การสื่อสารที่ช่วยสร้างและธำรงความร่วมมือของเครือข่ายผ่านการใช้สื่ออย่างหลากหลาย โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งเข้าถึงและทำให้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผสมผสานกับการใช้สื่อประเพณีเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการสร้างความผูกพันในฐานะชาวท้องถิ่นในพื้นที่เดียวกัน
Table of contents
Description
Thesis (Ph.D. (Communication Arts and Innovation))--National Institute of Development Administration, 2020