การปรับปรุงการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559
by ไกรสร มีแสง
Title: | การปรับปรุงการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 |
Other title(s): | Reforming the investigation of human trafficking cases in accordance with Thailand’s Procedures for Human Trafficking Cases Act, B.E. 2559 |
Author(s): | ไกรสร มีแสง |
Advisor: | ธนัทเทพ เธียรประสิทธิ์ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2020.103 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 ได้กำหนดให้นำระบบไต่สวนมาใช้ในการพิจารณาคดีของศาล รวมทั้งกำหนดให้ศาลนำสำนวนการสอบสวนของพนักงานอัยการโจทก์มาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาคดีด้วย ซึ่งถือเป็นการยกฐานะของสำนวนการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ให้มีความสำคัญถึงขนาดที่ศาลต้องใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการพิจารณาคดี แต่เนื่องจากกระบวนการในชั้นสอบสวนฟ้องร้องคดีค้ามนุษย์ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเช่นเดียวกับคดีอาญาทั่วไป โดยมีพนักงานสอบสวนเป็นผู้ผูกขาดอำนาจสอบสวนไว้แต่เพียงผู้เดียว อันเป็นการจัดวางโครงสร้างการดำเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวนฟ้องร้องที่แตกต่างไปจากระบบสากลที่กำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบทั้งการสอบสวนและการฟ้องคดีซึ่งถือเป็นกระบวนการเดียวกันที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ โดยในปัจจุบันพนักงานสอบสวนที่มีบทบาทหลักในการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ คือ พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจ และพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเมืองแทบทั้งสิ้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวมานี้ จึงอาจทำให้กระบวนการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทยขาดประสิทธิภาพ
ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส ถือว่าการสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกัน ไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ โดยกระบวนการในชั้นสอบสวนอยู่ในความรับผิดชอบ หรือควบคุม หรือกำกับดูแลของพนักงานอัยการตั้งแต่เริ่มต้นคดีจนกระทั่งเสร็จสิ้นการสอบสวน
ดังนั้น การกำหนดให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นองค์กรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านกฎหมายและมีหลักประกันความเป็นอิสระที่สูงกว่าพนักงานสอบสวนได้เข้ามาร่วมทำการสอบสวนตั้งแต่เริ่มต้นคดีจนกระทั่งเสร็จสิ้นการสอบสวน ย่อมทำให้เกิดกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลการสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ ได้สำนวนการสอบสวนที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือที่ศาลสามารถใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม อันเป็นการสอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 ต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | การค้ามนุษย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
วิธีพิจารณาความอาญา -- ไทย การสืบสวนคดีอาญา |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 123 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5596 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|