ปัญหาการใช้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
by สุชาดา เภารังค์
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการใช้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The problem of enforcing the state policy under the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 |
ผู้แต่ง: | สุชาดา เภารังค์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | บรรเจิด สิงคะเนติ |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิติศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2020.92 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาเกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการใช้บังคับบทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวนโยบายแห่งรัฐของต่างประเทศ และเพื่อศึกษาหาแนวทางเสนอแนะปัญหาการใช้บังคับบทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 65 และมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ สถานะทางกฎหมายในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และผลผูกพันในการดำเนินงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ รวมถึงการเกิดสภาพบังคับทางกฎหมายตามมาตรา 65 และมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐมีรูปแบบและวิธีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในหมวดอื่น ๆ อีกทั้งการมีหรือสิ้นไปของบทบัญญัติในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ จะต้องเป็นไปตามหลักการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยสภาพบังคับของบทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบัญญัตินี้ไม่ได้กำหนดสภาพบังคับทางกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการตีความบทบัญญัติ โดยผู้ศึกษาได้ทำการแบ่งบทบัญญัติในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) บทบัญญัติแนวนโยบายแห่งรัฐโดยทั่วไป หรือบทบัญญัติแนวนโยบายแห่งรัฐโดยแท้ ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐ ไม่ได้ก่อให้เกิดการสิทธิในการฟ้องร้อง ดังเช่นบทบัญญัติหมวดหน้าที่ของรัฐ แต่เพียงมีเจตนารมณ์ให้บทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ใช้สำหรับเป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน มิได้มีสภาพบังคับหรือผลผูกพันทางกฎหมายที่รัฐจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 2) บทบัญญัติแนวนโยบายแห่งรัฐที่มีผลผูกพัน ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐมีบทบัญญัติในมาตรา 65 และมาตรา 77 ที่เป็นแนวนโยบายที่มีสภาพบังคับหรือผลผูกพันให้รัฐต้องปฏิบัติตาม |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | รัฐธรรมนูญ -- ไทย
รัฐธรรมนูญ -- ไทย -- 2560 นโยบายของรัฐ -- ไทย |
คำสำคัญ: | e-Thesis
นโยบายแห่งรัฐ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 149 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5597 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|