กระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทย
by กันตพงศ์ แสงพวง
Title: | กระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทย |
Other title(s): | Judicial process and medical practice dispute resolution in Thailand |
Author(s): | กันตพงศ์ แสงพวง |
Advisor: | เกียรติพร อำไพ |
Degree name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.39 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การฟ้องร้องคดีข้อพิพาททางเวชปฏิบัติทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ประกอบเวชปฏิบัติลดน้อยลง เกิดการรักษาพยาบาลแบบป้องกันตนเอง กล่าวคือ มีการการส่งตรวจทางพยาธิวิทยามากขึ้นละเอียดขึ้น ผลที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขที่เพิ่มตามไปด้วย
การศึกษากระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทย มีการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การศึกษาสาเหตุของความผิดพลาดและการเกิดข้อพิพาททางเวชปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการทางการแพทย์อันจะนำไปสู่การศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่จะนำมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติ ทั้งโดยกระบวนการกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักและกระบวนการยุติธรรมทางเลือก การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล จากหนังสือ บทความในวาสารกฎหมาย วาสารสาธารณสุข ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิทางอินเตอร์เน็ต
ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีความพยายามในการนำระบบการชดเชยความเสียหายโดยไม่พิสูจน์ความผิด (No-fault compensation system) จากแนวปฏิบัติและหลักการของกฎหมายต่างประเทศมาบังคับใช้ในคดีข้อพิพาททางเวชปฏิบัติ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และมาตรา 63 (7) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อย่างไรก็ตาม การนำหลักกฎหมายไปสู่การปฏิบัติของกฎหมายทั้งสองฉบับยังไม่สามารถทำให้การชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงไปของกฎหมายดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้เสนอให้ผลักดันให้มีกฎหมายเฉพาะโดยตราเป็นร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนใน มาตรา 17 เพื่อให้เนื้อหาสาระของกฎหมายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนั่นคือการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประกอบเวชปฏิบัติ มาตรา 18 เพื่อสร้างความชัดเจนของกฎหมายเกี่ยวกับข้อกำหนดสำหรับสถานพยาบาลเอกชนให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมมากขึ้น และมาตรา 19 เรื่องการกำหนดจำนวนเงินที่สมทบเข้ากองทุน รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | เวชปฏิบัติ
กระบวนการยุติธรรม |
Keyword(s): | ข้อพิพาททางเวชปฏิบัติ
การชดเชยความเสียหายโดยไม่พิสูจน์ความผิด ยุติธรรมทางเลือก e-Thesis วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2565 วิทยานิพนธ์รางวัลดี |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 276 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5601 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|