การกำกับสื่อที่มีการหลอมรวมของช่องการสื่อสารข้อมูล: กรณีศึกษาการแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต (OTT)
Files
Publisher
Issued Date
2020
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
147 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b212290
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เสาวรส ทิพย์ธรรมธารา (2020). การกำกับสื่อที่มีการหลอมรวมของช่องการสื่อสารข้อมูล: กรณีศึกษาการแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต (OTT). Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5607.
Title
การกำกับสื่อที่มีการหลอมรวมของช่องการสื่อสารข้อมูล: กรณีศึกษาการแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต (OTT)
Alternative Title(s)
The regulation on media with the combination of data communication channels : a case study of broadcasting via internet
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
อินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะการใช้งานผ่านช่องทางอื่นนอกเหนือไปจากระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การรับชมโทรทัศน์ในรูปแบบของ Streaming หรือในรูปแบบการรับชมการแพร่ภาพและเสียงได้ตามเวลาที่ต้องการ (Video On Demand) ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ซึ่งการใช้งานลักษณะดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จึงทำให้เกิดการให้บริการในลักษณะการแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต โดยที่ผู้ให้บริการไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเอง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการให้บริการแบบ Over The Top (OTT) การให้บริการแบบ OTT นี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายมากหรือก็คือ การรับชมหรือทำรายการผ่าน Youtube, Facebook, Netflix หรือ Line TV เป็นต้น แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้ามากขึ้น แต่บทกฎหมายหรือข้อบังคับในปัจจุบันยังมิได้รับการแก้ไขเพื่อกำกับดูแลให้ครอบคลุมกับการให้บริการลักษณะดังกล่าวเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ ไม่มีกฎหมายที่ควบคุมเนื้อหาในการแพร่ภาพและเสียงสู่ธารณะชน ไม่มีมาตรการลงโทษแก่ช่องทางของผู้ให้บริการเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องเป็นการเฉพาะ และยังไม่มีองค์กรหลักที่มีหน้าที่เฉพาะในการเข้ามากำกับดูแลการให้บริการในลักษณะ OTT ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาใช้บังคับโดยอนุโลมก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำผิดในกรณีนี้ได้อย่างครบถ้วน งานวิจัยฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกำกับดูแลการให้บริการลักษณะ OTT พร้อมเสนอแนะแนวทางการในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ ในการควบคุมกำกับดูแลการให้บริการลักษณะ OTT ของประเทศไทย เพื่อเป็นหลักการในการกำหนดมาตรการควบคุมกำกับดูแลการให้บริการลักษณะ OTT ในประเทศไทยได้อย่างชัดเจน โดยศึกษาจากกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติที่ใกล้เคียงของต่างประเทศและสภาพปัญหาของประเทศไทย รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในประเด็นที่เป็นปัญหาต่อไป
The internet has played a major role in human’s lives, especially the use of internet via various channels other than computer system, such as watching television by streaming or the Video-on-Demand service on mobile phone or other electronic devices. The growth of such usage worldwide tends to continuously increase, and that has resulted in broadcasting service via the internet of which the service providers are not required to invest in their own signal network; also known as the Over The Top (OTT) service. The OTT service becomes very popular; referring to watching or producing programmes on Youtube,Facebook etc. However, In clarification, there is no law governing the content for public broadcasting also no organization with specific authority to govern the OTT service provision. Therefore, this research has been conducted with the objective of studying and analyzing legal problems, as well as offering suggestions on amendment of the existing laws in order to promote explicit measures for the regulation of OTT service in Thailand. The method of this research was studying the laws, specialists which could lead to suggestions on the further improvement of relevant laws.
The internet has played a major role in human’s lives, especially the use of internet via various channels other than computer system, such as watching television by streaming or the Video-on-Demand service on mobile phone or other electronic devices. The growth of such usage worldwide tends to continuously increase, and that has resulted in broadcasting service via the internet of which the service providers are not required to invest in their own signal network; also known as the Over The Top (OTT) service. The OTT service becomes very popular; referring to watching or producing programmes on Youtube,Facebook etc. However, In clarification, there is no law governing the content for public broadcasting also no organization with specific authority to govern the OTT service provision. Therefore, this research has been conducted with the objective of studying and analyzing legal problems, as well as offering suggestions on amendment of the existing laws in order to promote explicit measures for the regulation of OTT service in Thailand. The method of this research was studying the laws, specialists which could lead to suggestions on the further improvement of relevant laws.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563