• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

Instructional Design that Affect Learning Effectiveness  through Massive Open Online Courses (MOOCs)  of the Generation Y Workers in Bangkok

การออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ ระบบเปิด (MOOCs) ของคนเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y)  ในเขตกรุงเทพมหานคร

by Benyasikarn Kanjanathanaseth; เบญญศิกานต์ กาญจนาธนเสฏฐ์; Chaiyuth Chinokul; ชัยยุทธ ชิโนกุล

Title:

Instructional Design that Affect Learning Effectiveness  through Massive Open Online Courses (MOOCs)  of the Generation Y Workers in Bangkok
การออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ ระบบเปิด (MOOCs) ของคนเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y)  ในเขตกรุงเทพมหานคร

Advisor:

Chaiyuth Chinokul
ชัยยุทธ ชิโนกุล

Issued date:

4/6/2021

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

The objectives of this research were to analyze the structural designs, contributing factors, learning data, and overall benefits of Massive Open Online Courses (MOOCs) for Generation Y people in Bangkok. This survey research was based on both quantitative and qualitative  data. The sample consisted of 355 people employed in Bangkok and born between 1981 and 1999. They participated in Massive Open Online Courses (MOOCs) from service providers in Thailand and completed a survey about their experience. The measures used to analyze the data were percentage, frequency, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. After that, the information was collected through interviews. This study was selected from 12 purposive sampling respondents. Data were analyzed through content analysis and inductive analysis. The research findings were as follows. First, most of the sampled groups had a specialized learning style for reading and writing. They frequently used computers to learn Massive Open Online Courses (MOOCs) from home. Most of them enrolled in a free course and took approximately 15-30 minutes sessions. Next, factors of learning design features had a statistically significant effect on the effectiveness of learning through MOOCs at a level of 0.01. It related to interviewing results found that millennials in Bangkok are prioritizing a learning design factor. These factors can facilitate learning, create motivation for learning, support learning discipline and comprehension of the lesson. These findings were consistent with purposive sampling, interviews, which found that millennials in Bangkok considered factors of self-directed learning, creating a learning environment, design learning content, learning management systems, and technology systems. In addition, opinion level on the effectiveness of learning through MOOCs of millennials in Bangkok was very positive. The results were consistent with interviews which indicated that learning through MOOCs helped people access information, conveniently improved skills, saved money, and greatly expanded users' knowledge and vision. Finally, it argued that MOOCs were appropriate for learners in the digital era.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (MOOCs) ของคนเจนเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร  2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (MOOCs) ของคนเจนเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร และ  3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (MOOCs) ของคนเจนเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การเรียนรู้ การฝึกอบรมผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (MOOCs) ของผู้บริการภายในประเทศไทย เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2542 และทำงานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 355 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  หลังจากนั้นเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ โดยคัดเลือกจากผู้ตอบแบบสอบถามแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์ (Purposive Sampling) จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ถนัดเรียนรู้ผ่านการอ่านและการเขียน มักใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนขณะอยู่ในสถานที่พักอาศัย  ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งใช้เวลาในการเรียนรู้แต่ละครั้งประมาณ 15-30 นาที  2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะการออกแบบการเรียนรู้ ส่งผลต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (MOOCs) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  สอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ที่พบว่าคนเจนเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านคุณลักษณะการออกแบบการเรียนรู้ เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ส่งเสริมวินัยในการเรียนรู้และความเข้าใจในบทเรียน  3) ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (MOOCs) ในภาพรวมของคนเจนเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก  สอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ที่พบว่าการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (MOOCs) ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล ความรู้ สามารถพัฒนาทักษะได้อย่างสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังได้รับองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทำให้วิสัยทัศน์เปิดกว้างยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (MOOCs) เป็นการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองความต้องการผู้เรียนในยุคดิจิทัล

Keyword(s):

การเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด, การออกแบบการเรียนรู้, การเรียนรู้ออนไลน์
MOOCs
Massive Open Online Course

Type:

Text

Language:

tha

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5653
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 6010612002.pdf ( 2,164.58 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [192]

Related items

Showing items related by title, author, creator and subject.

  • Thumbnail

    การศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความผูกพัน แรงจูงใจ และความพึงพอใจของผู้เรียน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 

    ธัญพรรษ แพนสกุล; ปราโมทย์ ลือนาม (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจดัการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความผูกพัน แรงจูงใจและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของผู้เรียน โดยทำการศึกษากับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีชั้นปีที่3 สาขา คณิตศาสตร์ที่เรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาคการศึกษาที่ 1/2558 โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 39 คน และกลุ่มทดลอง40คน โดยทั้งสองกลุ่มได้ทำ การทดสอบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือทดลอง การวัด ประสิทธิภาพสื่อ พบว่า ในส่วนของกระบวนการ ...
  • Thumbnail

    การศึกษามิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 

    ปิยะณัฐ ศรีวิไลย์; อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 540 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีมิติวัฒนธรรมทั้ง 6 มิติ คือ มีมิติความเหลื่อมล้ำทางอำนาจส ...
  • Thumbnail

    การประกอบสร้างชุดสัญญะแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อบุคคลพิการทางสายตาของนิทรรศการบทเรียนในความมืด 

    อนุรักษ์ จันทร์ดำ; วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารในนิทรรศการบทเรียนใน ความมืด 2) เพื่อวิเคราะห์สัญญะที่สำคัญ ในการสะท้อนเป้าหมายหลัก ที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นแก่ ผู้รับสารของนิทรรศการบทเรียนในความมืดจากเวทนาเป็ นยอมรับและเข้าใจโดยใช้สัญวิทยาใน การวิเคราะห์ถอดสัญญะความหมายการสื่อสาร โดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 3 ประเภท ได้แก่ 1) เอกสาร (Online and Offline Documents) 2) ก ารสังเกตการณ์ จาก ผู้วิจัย (Observation) และ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อยู่เบื้องหลัง (In-Depth Interview) ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ดูแลนิทรรศการ และผู้นำทางและก ...

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×