การวิเคราะห์เนื้อหาสารและกลยุทธ์การสื่อสารบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
by อภัสนันท์ พงษ์พนัส
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์เนื้อหาสารและกลยุทธ์การสื่อสารบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Content analysis and communication strategy about online depression communities |
ผู้แต่ง: | อภัสนันท์ พงษ์พนัส |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | พรพรรณ ประจักษ์เนตร |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master’s |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้ดูแลสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 2) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาร ด้านความเข้มแข็งทางจิตใจ ความไว้วางใจและความผูกพันต่อชุมชนของสมาชิกบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ประชากรในการศึกษาคือกลุ่มสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊กกลุ่ม 3 กลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้ดูแลสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และการวิเคราะห์เนื้อหาสาร (Content Analysis) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาร ด้านความเข้มแข็งทางจิตใจ ความไว้วางใจ และความผูกพันต่อชุมชนของสมาชิกบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลกลุ่มสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการสื่อสารด้านรูปแบบ คือ ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการสื่อสารโดยสมาชิกมีอิสระทั้งในการเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร 2) ด้านการเรียบเรียงสาร ใช้วิธีการกำหนดหัวข้อหลักและหัวข้อรองในการสื่อสาร โดยให้ความสำคัญต่อความเป็นเหตุเป็นผลของเรื่องราวที่สื่อสาร 3) ด้านเทคนิคการสื่อสาร ใช้วิธีการสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ และเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก และการประยุกต์ใช้ประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจในการสื่อสาร โดยลักษณะข้อความที่มีการสื่อสารกันในกลุ่มสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากที่สุด คือ ลักษณะการใช้ข้อความเพื่อจรรโลงใจให้คติข้อคิด ทำให้การแสดงออกทางการสื่อสารของสมาชิกในกลุ่มในด้านความไว้วางใจมากที่สุด ผ่านการใช้ข้อความเปิดเผยตนเอง ลำดับต่อมา คือ ความเข้มแข็งทางจิตใจ ผ่านการใช้ข้อความด้านสิ่งที่ตนเป็น (I am) การเป็นผู้มีความหวัง ความศรัทธา และเชื่อมั่น และความผูกพันด้านความรู้สึก ผ่านการใช้ข้อความแสดงความผูกพันด้านความรู้สึก
ผลวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลสังคมออนไลน์และผู้ที่ต้องการสื่อสารไปยังสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ในการจัดกลยุทธ์การสื่อสาร กำหนดแนวทาง การวางแผนด้านเนื้อหาสารให้ตรงกับความต้องการของผู้รับสาร อันจะทำให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามีอาการดีขึ้น และหายป่วยได้ในอนาคต |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
คำสำคัญ: | โรคซึมเศร้า
กลยุทธ์การสื่อสาร ความเข้มแข็งทางจิตใจ ความไว้วางใจ ความผูกพันต่อชุมชน e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5660 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|