• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะสถิติประยุกต์
  • GSAS: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะสถิติประยุกต์
  • GSAS: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในแอปพลิเคชัน Line ของผู้ใช้งานในกรุงเทพมหานคร

by วงศกร ยุกิจภูติ

Title:

ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในแอปพลิเคชัน Line ของผู้ใช้งานในกรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Factor affecting the engagement of LINE customer in Bangkok

Author(s):

วงศกร ยุกิจภูติ

Advisor:

เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

สถิติประยุกต์

Degree department:

คณะสถิติประยุกต์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2016.152

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งาน ระดับความผูกพันและปัจจัยที่มี ผลต่อความผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE ของผู้ใช้งานในกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัย เชิงสำรวจ ตัวอย่าง คือ ผู้ใช้งาน LINE ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 385คน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling:SEM) ผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน LINE ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้งาน มากกว่า 3 ปีมีลักษณะการใช้งานทุกคร้ังที่มีการแจ้งเตือน ใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับครอบครัว/ญาติ/ เพื่อน ในขณะที่การซื้อผลิตภัณฑ์สติ๊กเกอร์(Sticker) ของ LINE ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา มีเพียง ร้อยละ 36.10และมีการซื้อผลิตภัณฑ์ธีม (Theme) ของ LINE ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เพียงร้อยละ 14.29 นอกจากนี้ LINE เป็นแอปพลิเคชันที่เกี่ยวกับ Social Network ที่ใช้งานบ่อยที่สุด แต่ในกรณี ที่ LINE มีการเก็บค่าบริการรายปีผู้ใช้งานจะไม่ใช้บริการถึงร้อยละ78.70 เมื่อพิจารณาถึงระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงที่สุด คือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นเพียงด้านเดียว ที่อยู่ในระดับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง รองลงมาคือ ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือการส่งมอบการบริการ ความใส่ใจและการให้ความสำคัญกับลูกค้าและความจริงใจและความรับผิดชอบซึ่งอยู่ในระดับ เห็นด้วยทั้งหมด สำหรับความผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE ของผู้ใช้งาน พบว่า มีระดับความ ผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความผูกพันของผู้ใช้งาน LINE ใน กรุงเทพมหานคร พบว่าความใส่ใจและการให้ความสำคัญกับลูกค้ามีอิทธิพลโดยรวมเชิงบวกต่อความผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE มากที่สุด รองลงมาคือการส่งมอบการบริการความจริงใจและ ความรับผิดชอบ ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือและคุณสมบัติของผลิตภัณ ฑ์เมื่อพิจารณาอิทธิพล ทางตรง พบว่า ความผูกพันของผู้ใช้งาน LINE ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความใส่ใจและ การให้ความสำคัญกับลูกค้ามากที่สุด รองลงมาคือ ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และเมื่อพิจารณาอิทธิพลทางอ้อม พบว่าการส่งมอบการบริการมีอิทธิพลทางอ้อม ต่อความผูกพันของผู้ใช้งาน LINE โดยส่งผ่านภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ ส่งผ่านความใส่ใจ และการให้ความสำคัญกับลูกค้าและส่งผ่านความจริงใจและความรับผิดชอบ

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

ความผูกพัน
ไลน์ (บริการสารสนเทศ)
ไลน์ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

121 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5672
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b192967.pdf ( 1,838.53 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSAS: Theses [224]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×