การพัฒนาตัวแบบความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทย
by ปารียา ศิริวัฒนพันธ์
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาตัวแบบความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Modeling agricultural supply chain flexibility : a case study of cassava in Thailand |
ผู้แต่ง: | ปารียา ศิริวัฒนพันธ์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | สราวุธ จันทร์สุวรรณ |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการโลจิสติกส์ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะสถิติประยุกต์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2016.151 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
ยุทธศาสตร์สำคัญ ประการหนึ่งของภาครัฐคือการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหาร จัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคโดยมุ่งเน้นการ บริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ตัวชี้วัดประสิทธิภาพตามแผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาพิจารณาเพียงเรื่องของต้นทุน (Cost) เวลา (Lead Time) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) แต่ตัวชี้วัดที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือ ความยืดหยุ่นของโซ่ อุปทาน ซึ่งแสดงถึงความสามารถที่ระบบสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์อันเป็นผลมา จากการเปลี่ยนแปลงของราคาและนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐยังไม่ได้กล่าวถึงมากนักใน ระบบโซ่อุปทานสินค้าเกษตร บทความนี้จึงได้พัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อใช้วัดความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน (Supply Chain Flexibility) โดยนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษามันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ ซึ่งการพัฒนาตัวแบบพิจารณาตั้งแต่ส่วนการเพาะปลูก โดยเกษตรกร การแปรรูปจากมันสำปะหลังสดเป็นแป้งมันสำปะหลัง และการขนส่งไปยังท่าเรือ เพื่อการส่งออกโดยตัวแบบที่สร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ตัวแบบคือ ตัวแบบ Deterministic และตัวแบบ Stochastic ซึ่งในแต่ละตัวแบบจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้น โดยขั้นที่1 เป็นตัวแบบสำหรับการหาความสามารถพื้นฐานของโซ่อุปทานที่ทำให้เกิดผลกำไรสูงที่สุด และขั้นที่2 เป็นตัวแบบที่ใช้ ประเมินค่าความยืดหยุ่น ของโซ่อุปทานที่สามารถเพิ่มได้สูงที่สุดจากความสามารถพื้นฐานที่ได้จาก ขั้นที่1 ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นความสามารถสำรอง (Reserve Capacity) ของระบบโซ่อุปทาน ทั้งนี้ตัว แบบสามารถเป็นแนวทางให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพของโซ่อุปทาน รวมถึงระบุจุดคอขวดของระบบเพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงอุปทานและอุปสงค์ในอนาคตได้ อย่างมีประสิทธิภาพ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการโลจิสติกส์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | สินค้าเกษตร
การบริหารงานโลจิสติกส์ มันสำปะหลัง |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 116 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5674 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|