บทบาทของผู้บริหารในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
by อรปวีณ์ ธรรมานุชิต
Title: | บทบาทของผู้บริหารในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
Other title(s): | The roles of executives as a change leader preparing for ASEAN Community of Department of Local Administration : the case study of Ubon Ratchatani Provincial Administrative Organization |
Author(s): | อรปวีณ์ ธรรมานุชิต |
Advisor: | พลอย สืบวิเศษ |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2015.97 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษามีวัตถุประสงค์การศึกษา 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะที่เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงในการเตรียมความพร้อมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และ 2) เพื่อศึกษาสถานภาพ ปัจจุบันของการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียน วิธีการศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กําหนดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เป็นหน่วยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และใช้ข้อมูลประกอบการวิจัย เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมเข้า สู่ประชาคมอาเซียน เอกสารประกอบโครงการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน พร้อมทั้งการสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง (Structured Interview) ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้นําองค์การ จํานวน 3 คน และ 2) กลุ่มบุคลากร แบ่งออกเป็น เจ้าหน้าที่ ดําเนินการ จํานวน 9 คน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จํานวน 12 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิง ลึก (In-depth Interview) ในกลุ่มตัวอย่างในการศึกษากลุ่มผู้นําองค์การและเจ้าหน้าที่ดําเนินการ และใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ในกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุบลราชธานีในการเตรียมความพร้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียน เป็นไปตามแนวทางผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ของ Bass and Avolio คือ 1) การมีอิทธิพลทางอุดมการณ์ (Idealized Influence or Charismatic Leadership) 2) การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational Motivation) 3) การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) 4) การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกชน (Individualized Consideration) การศึกษาสถานภาพปจจุบันของการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน พบว่า มีการดําเนินโครงการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมใน การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสามารถประมวลสรุปได้ 5 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาการบริหาร และจัดการทรัพยากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 4) ด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต และ 5) ด้านการพัฒนา ส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ 1) หน่วยงานภาครัฐที่มีอํานาจในการบัญญัติกฎหมาย ควรเพิ่มอํานาจหรือกําหนดขอบเขตอํานาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเด็นของการ ดําเนินงานที่มีความเกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียนให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น 2) องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดควรมีการจัดอบรมเพิ่มทักษะด้านภาษาอาเซียน และภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรใน องค์การส่วนท้องถิ่นทั้งฝายบริหารและฝ่ายปฏิบัติงาน 3) องค์การบริหารส่วนจังหวัดควรพัฒนา ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นที่มีผลกระทบต่อองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการสร้างตระหนักเกี่ยวกับประเด็นประชาคมอาเซียนในภาค ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ทั้งข้อดีและข้อเสียเปรียบ ในอีกด้านประชาชน ผู้ประกอบการก็จะได้มี ความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่าง เต็มรูปแบบ พร้อมทั้งจัดทําเว็บไซต์เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรู้ประชาคมอาเซียนเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตัวเองทั้งในส่วนบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ที่สนใจ 4) องค์การบริหารส่วนจังหวัดควรจัดการอบรมด้านทักษะทางอาชีพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงควร ประชาสัมพันธ์ให้ทราบในหลายช่องทางเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ และ 5) องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งควรบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับ อื่นๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องของบทบาทหน้าที่ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง รวมไปถึงศักยภาพและความโดดเด่นเฉพาะถิ่นที่ท้องถิ่นแต่ละ แห่งย่อมแตกต่างกันไป เมื่อนํามาบูรณาการร่วมกันจะทําให้จังหวัดและภูมิภาคมีความเข้มแข็ง และพร้อมต่อการดําเนินกิจกรรมไปในวิถีอาเซียน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | ประชาคมอาเซียน
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 177 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5741 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|