ความหวาดกล้วอาชญากรรมทางเพศของหญิงที่โดยสารรถยนต์รับจ้างสาธารณะ (รถแท็กซี่) ในเขตกรุงเทพมหานคร
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
156 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193389
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ณิศพล รักษาธรรม (2016). ความหวาดกล้วอาชญากรรมทางเพศของหญิงที่โดยสารรถยนต์รับจ้างสาธารณะ (รถแท็กซี่) ในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5744.
Title
ความหวาดกล้วอาชญากรรมทางเพศของหญิงที่โดยสารรถยนต์รับจ้างสาธารณะ (รถแท็กซี่) ในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Fear of sexual crimes of female passengers using public taxi in Bangkok Metropolitan
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบ และวิธีการก่ออาชญากรรมทาง เพศต่อหญิงที่โดยสารรถแท็กซี่ 2) ระดับความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศของผู้หญิงที่โดยสาร รถแท็กซี่ และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลทําให้เกิดความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศของผู้หญิงที่โดยสาร รถแท็กซี่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกบการวิจัยเชิงคุณภาพ เขตพื้นที่ศึกษา คือ เขตพื้นที่ 6 เขตในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัย แบ่งเป็ น 2 ส่วนคือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาระดับความหวาดกลัว อาชญากรรมทางเพศ และปัจจัยที่ส่งผลทําให้เกิดความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศของผู้หญิงที่ โดยสารรถแท็กซี่ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงจํานวน 433 คนที่เคยโดยสาร รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร ใช้สถิติวิจัย คือ ค่าความถี่,ค่าร้อยละ, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การ ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย, และการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย และ 2) การวิจัยเชิง คุณภาพเพื่อศึกษารูปแบบ และวิธีการก่ออาชญากรรมทางเพศของผู้ก่อเหตุที่เป็ นผู้ขับขี่รถแท็กซี่ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งแบบเป็ นทางการ และไม่เป็ นทางการกบกลุ่มตัวอย่างจํานวน 28 ราย ประกอบด้วยกลุ่มผู้โดยสารหญิงที่ประสบเหตุอาชญากรรม, ผู้ขับขี่รถแท็กซี่, เจ้าหน้าที่ตํารวจ และ กรมคุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ กรมการขนส่งทางบก ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1) ผู้หญิงมีระดับความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศอยู่ใน ระดับมากคือ ความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศด้านพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 และความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศด้านพฤติกรรมการป้องกันมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และ 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศกับ ระดับความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศ พบวา ปัจจัย อายุ, ความถี่ในการโดยสาร และช่วงเวลา
เดินทาง มีความสัมพันธ์กบความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศในเชิงลบ ส่วนปัจจัย การรับรู้ข่าว เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเพศของแท็กซี่ผ่านสื่อ และบุคคลอื่นๆ และการรับรู้ความเสี่ยงต่อการตก เป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศจากแท็กซี่ มีความสัมพันธ์กบความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศ ในเชิงบวก แต่ประสบการณ์ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศจากแท็กซี่ กับทัศนคติต่อ ประสิทธิภาพการทํางานของตํารวจไม่มีความสัมพันธ์กบความหวาดกลัวอาชญากรรม ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า วิธีการก่อเหตุอาชญากรรมทางเพศครอบคลุมรู ปแบบ อาชญากรรมทั้ งทางวาจา กริยา และการสัมผัสร่างกายในระดับที่มีความรุนแรงแตกต่างกันตามแต่วิธีการที่ผู้ก่อเหตุใช้ และจากการเก็บข้อมูลประสบการณ์อาชญากรรมของกลุ่มตัวอยาง พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างประสบเหตุอาชญากรรมในรูปแบบทางกิริยามากที่สุด คือ การใช้สายตาลวนลามทางเพศ รองลงมาคือ รูปแบบทางวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคําลามกต่อหน้า และพฤติกรรมมีพิรุธส่อถึง การพยายามล่วงละเมิดทางเพศ ถึงแม้จะพบวา อัตราการเกิดอาชญากรรมนั้นมีค่อนข้างน้อยจากการ สัมภาษณ์เชิงลึก แต่อย่างไรก็ตามจากการวิจัยเชิงปริ มาณพบว่า ผู้หญิงมีความหวาดกลัว อาชญากรรมค่อนข้างสูง และผลการวิจัยทั้งสองมีความสอดคล้องกันในเรื่องของกลุ่มผู้หญิงที่ ประสบเหตุอาชญากรรมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอายุ 20 - 40 ปี มีอาชีพเป็ นนักศึกษา และกลุ่มผู้หญิง วัยทํางาน ซึ่งทั้ งสองกลุ่มนี้มีความหวาดกลัวอาชญากรรมที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ผู้หญิงมีความ หวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศในช่วงเวลาเสียงน้อยมากกว่าช่วงเวลาที่เสี่ยงมาก สะท้อนว่า ช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมทางเพศมากส่งผลให้ความหวาดกลัวอาชญากรรมน้อยลง ปัจจัยที่ส่งผลมากกว่าอาจจะเป็ นปัจจัยส่วนบุคคลจากผู้กระทําผิด, เหยื่อ, สถานการณ์ที่เหมาะสม และอื่นๆ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559