dc.contributor.advisor | กนกกานต์ แก้วนุช | th |
dc.contributor.author | ลิขิต กนกหิรัญญากร | th |
dc.date.accessioned | 2022-05-09T08:56:59Z | |
dc.date.available | 2022-05-09T08:56:59Z | |
dc.date.issued | 2016 | th |
dc.identifier.other | b197582 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5761 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้ถูกจัดทําขึ้นเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ในประเทศไทย ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ในประเทศไทย และศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ให้กับเกษตรกร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปใช้เพื่อลดปัญหาความยากจน การเคลื่อนย้ายแรงงาน สร้างรายได้เสริม รวมถึงการสร้างความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ถูกผูกร่วมไว้กับการทําเกษตรให้คงอยู่กับประเทศไทยสืบไป
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการฟาร์มสเตย์จํานวน 6 แห่งกระจายออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้ง 6 ภูมิภาค โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ประกอบการฟาร์มสเตย์ และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการฟาร์มสเตย์ จํานวน 400 ตัวอย่าง โดยข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวให้ความสนใจและชื่นชอบการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการกลับมาเที่ยวซ้าและมีพฤติกรรมบอกต่อ ชื่นชอบบรรยากาศภายในฟาร์มและความเป็นกันเองของเจ้าของฟาร์มสเตย์ การจัดการฟาร์มสเตย์แต่ละแห่งมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าฟาร์มสเตย์มีที่มาอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ฟาร์มสเตย์ที่เกิดจากการรวมกลุ่มผู้นําต้องมีความรับผิดชอบและแบ่งผลประโยชน์อย่างยุติธรรม หรือฟาร์มสเตย์ที่มีการจัดการบริหารจัดการด้วยตนเอง ต้องมีการบริหารจัดการที่รัดกุม เป็นต้น จากการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวเกิดความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านทัศนคติของเจ้าบ้านมากที่สุดรองลงมาคือปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจ ปัจจัยด้านที่พัก ปัจจัยด้านการเข้าถึง และลําดับสุดท้ายคือปัจจัยด้านสิ่งอํานวยความสะดวก ตามลําดับ | th |
dc.description.provenance | Submitted by Kwanruthai Kaewjampa (kwanruthai.k@nida.ac.th) on 2022-05-09T08:56:58Z
No. of bitstreams: 1
b197582.pdf: 2237974 bytes, checksum: a8f2746b09146af76a9d37fad9066031 (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2022-05-09T08:56:59Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b197582.pdf: 2237974 bytes, checksum: a8f2746b09146af76a9d37fad9066031 (MD5)
Previous issue date: 2016 | th |
dc.format.extent | 128 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | ฟาร์มสเตย์ | th |
dc.subject.other | การท่องเที่ยว | th |
dc.subject.other | ฟาร์ม -- การใช้ในนันทนาการ | th |
dc.subject.other | การท่องเที่ยวเชิงเกษตร | th |
dc.title | แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย | th |
dc.title.alternative | Farm-stay tourism management’s appropriate approach for Thailand | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.discipline | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะการจัดการการท่องเที่ยว | th |