การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศีกษา สำนักงานเขตบางแค
by นันทญา เขียวแสวง
Title: | การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศีกษา สำนักงานเขตบางแค |
Other title(s): | Assessment of carbon footprint and sustainability reduction of greenhouse gas emissions of a Local Government Office in Bangkhae District |
Author(s): | นันทญา เขียวแสวง |
Advisor: | จินตนา อมรสงวนสิน |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งกําเนิดปริมาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสํานักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตลอดจนวิเคราะห์หาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกิจกรรมในองค์กรโดยใช้หลักการพัฒนาแบบยั่งยืน สําหรับใช้ในสํานักงานเขตบางแค เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตัวแทนหน่วยงานทั้งหมด 10 หน่วยงานและการสัมภาษณ์ บุคลากรของสํานักงานเขตบางแค จํานวน 643 คน โดยการคํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO 2 e) ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ และก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งใช้แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของประเทศไทย โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง (Direct Emission) ประเภทที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Indirect Emission) และประเภทที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Other Indirect Emission) ซึ่งเป็นทางเลือกใน การประเมินสํานักงานเขตบางแค ในปีงบประมาณ 2555 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2555 ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสํานักงานเขตบางแคเท่ากับ 4,224.91 tonCO 2 e ต่อปี และจากกิจกรรมการการเดินทางไป-กลับของบุคลากรมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเท่า 1,617.63 ton CO 2 e ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 38.29 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อแสดงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 เนื่องจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์กรแสดงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เท่านั้น พบว่า มีแหล่งกําเนิดหลัก คือ จากกิจกรรมการใช้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะเคลื่อนที่เท่ากับ 623.56 ton CO 2 e ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 61.84 รองลงมาเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้า เป็น 306.31 ton CO 2 e ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 30.37 และกิจกรรมอื่นๆคิดเป็นร้อยละ 7.79 นอกจากนี้เมื่อคิดเทียบต่อบุคลากรมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 1,570 kg CO 2 e ต่อปี แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีมาตรการทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกิจกรรมของสํานักงานเขตบางแคส่วนใหญ่มีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงเป็นลําดับแรก พบว่า กิจกรรมการการเดินทางไป - กลับของบุคลากรมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเท่ากับ 1,617.63 ton CO 2 e ต่อปี และกิจกรรมการใช้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะเคลื่อนที่ของสํานักงานเขตบางแคเท่ากับ 623.56 ton CO 2 e ต่อปี แนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมโดยการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ด้านเศรษฐกิจ เป็นผลกระทบจากสํานักงานเขตบางแคมีกิจกรรมที่มีการใช้พลังงานมาก ซึ่งทําให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามกิจกรรมที่ดําเนินการ แนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมโดยการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนนํ้ามันเชื้อเพลิง การเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบทําความเย็นเป็นระบบประหยัดพลังงาน ด้านสังคม จากกิจกรรมของสํานักงานเขตบางแคในภาคของการใช้พลังงานไฟฟ้ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็น 306.31 ton CO 2 e ต่อปี ซึ่งสํานักงานเขตบางแคยังไม่เคยมีการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกให้ข้าราชการและลูกจ้างสํานักงานเขตบางแค แนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมโดยการให้ความรู้เป็นการสร้างความตระหนักความเข้าใจแก่บุคลากรในองค์กรทําให้บุคลากรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้ ด้านธรรมาภิบาล จากแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ด้าน ผู้บริหารของสํานักงานเขตบางแคจะต้องให้ความสําคัญในการดําเนินการ ดังนั้นแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางด้านธรรมาภิบาลผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านองค์ความรู้ของก๊าซเรือนกระจก มีกรอบการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมโดยการให้ความรู้เป็นการสร้างความตระหนักความเข้าใจแก่บุคลากรในองค์กรทําให้บุคลากรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ |
Keyword(s): | คาร์บอนฟุตพริ้นท์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 217 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5765 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|