การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
233 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b197573
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สิทธิ หลีกภัย (2016). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5768.
Title
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991
Alternative Title(s)
Transboundary environmental impact assessment under the convention on environmental impact assessment in a transboundary context 1991
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 และ 2) ศึกษาแนวทางในการนำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 ไปใช้ในทางปฏิบัติ ในการศึกษาได้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการพรรณนาตรรกะ (Logical Descriptive Analysis) โดยข้อมูลในการศึกษาชิ้นนี้คือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยศึกษาและเก็บข้อมูลจากตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย ตัวบทกฎหมาย เอกสารสำคัญ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาและวิเคราะห์หาคำตอบ
ผลการศึกษาพบว่า 1) กฎหมายระหว่างประเทศมีแหล่งที่มาที่หลากหลาย โดยสนธิสัญญาเป็นเพียงแหล่งที่มาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อดีของสนธิสัญญาคือเป็นแหล่งที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถพิสูจน์เนื้อหาได้ง่ายและสามารถกำหนดขั้นตอนในการนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้ในรายละเอียด 2) จารีตประเพณีระหว่างประเทศได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องไม่ใช้พื้นที่ในเขตอำนาจของตนไปก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อรัฐอื่นรวมทั้งพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ การละเมิดจารีตประเพณีระหว่างประเทศดังกล่าวส่งผลให้รัฐมีความรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ 3) ในสาขากฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศมีการทำสนธิสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะ คือ การทำสนธิสัญญาที่มีลักษณะเป็นกรอบความตกลงซึ่งต้องมีการตกลงกันอีกในรายละเอียด โดยอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 เป็นหนึ่งในบรรดาสนธิสัญญาประเภทนี้ 4) อนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 ได้กำหนดว่าโครงการประเภทใดบ้างที่ต้องมีการการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนมีประการใดบ้าง แต่ภาคีต้องไปตกลงกันในรายละเอียดในการปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับนี้รวมทั้งในบางประเด็นที่มิได้กล่าวไว้ในอนุสัญญา โดยในการทำความตกลงเพื่อนำอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 ไปสู่ภาคปฏิบัติ คณะกรรมการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติได้มีการจัดทำแนวทางให้รัฐภาคีนำไปปฏิบัติตาม
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559