• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง

by สุรพร มุลกุณี

Title:

แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง

Other title(s):

The Guidelines for Developing Cruise Port Management of Cruise Tourism in Thailand : A case study of Laem Chabang Port

Author(s):

สุรพร มุลกุณี

Advisor:

ไพฑูรย์ มนต์พานทอง

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว เรือสำราญ 2) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการท่าเรือแหลมฉบังในปัจจุบัน 3) เพื่อเสนอแนว ทางการพัฒนาท่าเรือการจัดการท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Methodology) ร่วมกันระหว่างการวิจัยแบบปริมาณ ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมากับเรือสำราญที่ ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังจำนวน 400 คน และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเรือสำราญ จำนวน 36 คน โดยศึกษาตามแนวคิดและทฤษฎีวัดระดับความสำคัญผ่านความคาดหวัง (Expectation) และประสิทธิพลการปฏิบัติงานผ่านความพึงพอใจ (Satisfaction) ประกอบด้วยองค์ประกอบการจัดการ ท่าเรือสำราญจำนวน 32 ตัวแปรจาก 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ คุณลักษณะของท่าเรือ (Port characteristic) โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือ (Port infrastructure and Port facilities) การให้บริการ (Services) นโยบายและกฎระเบียบ (Cruise Tourism Policy and regulations) แหล่งท่องเที่ยว (Tourism Attraction) กิจกรรมการท่องเที่ยว (Tourism activities) การเข้าถึงและการเชื่อมต่อ (Accessibility and connection) และสิ่งอำนวยความสะดวกบนฝั่ง (Amenity on shore) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติทาง สังคมศาสตร์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Divination) ใช้สถิติT-test เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มและหาความแตกต่างระหว่างความ คาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือสำราญที่ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบัง ใช้ สถิติF-test (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป และใช้การวัดประสิทธิภาพและประเมินศักยภาพจัดการท่าเรือด้วยเทคนิค ImportantPerformance Analysis (IPA) และเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis)
ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า 11 ตัวแปรอยู่ในระดับความส าคัญต่ าและมีผลการปฏิบัติงานดีได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์การเดินทางเชื่อมต่อกับท่าเรืออื่นๆ สภาพอากาศและทะเล การบริการของ มัคคุเทศก์ ทักษะและความสามารถของผู้ให้บริการ ความมีเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ความ หลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยว ความน่าสนใจของกิจกรรมการท่องเที่ยว ความคุ้มค่าของ กิจกรรม ภัตตาคารและแหล่งช้อปปิ้ง มีจำนวน 6 ตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มที่มีระดับความสำคัญต่างๆ แต่มีผล การปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว การบริการกระเป๋าสัมภาระ การบริการ แลกเปลี่ยนเงินตรา ร้านขายของที่ระลึกและที่พักบนฝั่ง ขณะที่ 6 ตัวแปรอยู่ในกลุ่มที่มีระดับความสำคัญ สูงแต่มีผลการปฏิบัติงานดีได้แก่ การบริการจัดนำเที่ยวบนฝั่ง พิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร การจัดการความปลอดภัย ความสะอาดและสุขอนามัย ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว และความ น่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยว และมี10 ตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มระดับความสำคัญสูงแต่มีผลการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ ระบบสาธารณูปโภคของท่าเรือ สิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือ ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและเรือสำราญขนาดใหญ่ การให้ข้อมูลแผนฉุกเฉิน การเข้าถึงและ เชื่อมต่อจากท่าเรือสู่เมือง การเข้าถึงและเชื่อมต่อจากท่าเรือสู่แหล่งท่องเที่ยว การเชื่อมต่อระหว่างแหล่ง ท่องเที่ยว และแท็กซี่/รถประจำทาง/บริการขนส่งสาธารณะ จากผลการศึกษาข้างต้นนำข้อมูลไป ประยุกต์เป็นข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวเรือสำราญ ได้แก่ 1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ปรับปรุงและพัฒนาการเข้าถึงและการเชื่อมต่อ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ 4) เสริมสร้างศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว 5) พัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้ให้บริการ 6) บูรณาการบริหารจัดการท่าเรือ 7) ส่งเสริมการท่องเที่ยว เรือสำราญของประเทศ

Subject(s):

ท่าเรือแหลมฉบัง

Keyword(s):

เรือสำราญ -- ไทย -- ชลบุรี
ท่าเรือ -- การจัดการ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

311 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

zho

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5777
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b199713.pdf ( 5,747.71 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [120]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×