แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง
by สุรพร มุลกุณี
Title: | แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง |
Other title(s): | The Guidelines for Developing Cruise Port Management of Cruise Tourism in Thailand : A case study of Laem Chabang Port |
Author(s): | สุรพร มุลกุณี |
Advisor: | ไพฑูรย์ มนต์พานทอง |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
เรือสำราญ 2) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการท่าเรือแหลมฉบังในปัจจุบัน 3) เพื่อเสนอแนว
ทางการพัฒนาท่าเรือการจัดการท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน
(Mixed Research Methodology) ร่วมกันระหว่างการวิจัยแบบปริมาณ ใช้แบบสอบถาม
(Questionnaire) เป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมากับเรือสำราญที่
ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังจำนวน 400 คน และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
(Semi-structured Interview) กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเรือสำราญ
จำนวน 36 คน โดยศึกษาตามแนวคิดและทฤษฎีวัดระดับความสำคัญผ่านความคาดหวัง (Expectation)
และประสิทธิพลการปฏิบัติงานผ่านความพึงพอใจ (Satisfaction) ประกอบด้วยองค์ประกอบการจัดการ
ท่าเรือสำราญจำนวน 32 ตัวแปรจาก 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ คุณลักษณะของท่าเรือ (Port
characteristic) โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือ (Port infrastructure and
Port facilities) การให้บริการ (Services) นโยบายและกฎระเบียบ (Cruise Tourism Policy and
regulations) แหล่งท่องเที่ยว (Tourism Attraction) กิจกรรมการท่องเที่ยว (Tourism activities)
การเข้าถึงและการเชื่อมต่อ (Accessibility and connection) และสิ่งอำนวยความสะดวกบนฝั่ง
(Amenity on shore) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติทาง
สังคมศาสตร์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Divination) ใช้สถิติT-test
เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มและหาความแตกต่างระหว่างความ
คาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือสำราญที่ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบัง ใช้
สถิติF-test (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2
กลุ่มขึ้นไป และใช้การวัดประสิทธิภาพและประเมินศักยภาพจัดการท่าเรือด้วยเทคนิค ImportantPerformance Analysis (IPA) และเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) |
Subject(s): | ท่าเรือแหลมฉบัง |
Keyword(s): | เรือสำราญ -- ไทย -- ชลบุรี
ท่าเรือ -- การจัดการ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 311 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | zho |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5777 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|