• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพื่อการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานคร

by ศรัณย์ จันทร์หาญ

Title:

เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพื่อการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Online Communication Network and Factors Influencing to Daily life Cycling in Bangkok

Author(s):

ศรัณย์ จันทร์หาญ

Advisor:

พัชนี เชยจรรยา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสื่อสารเกี่ยวกับการรณรงค์ใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ รวมถึงการศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และ พฤติกรรมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันของผู้ใช้เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์เกี่ยวกับการใช้จักรยาน และเพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์พฤติกรรมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเชิงสำรวจโดยใช้ แบบสอบถาม
ผลจากการวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า 1) เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ที่มี การรณรงค์ให้เกิดการใช้จักรยานในชีวิตประจ าวันโดยตรง จะมีการเผยแพร่เนื้อหาและการมีส่วนร่วม ของสมาชิกด้วยข่าวสาร เรื่องราว และประสบการณ์เชิงบวก ต่างจากเครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ทีไม่ มีการณรงค์โดยตรง จะมีการเผยแพร่ข่าวสาร เรื่องราว และประสบการณ์เชิงลบ ซึ่งส่งผลให้บุคคลทั่วไป ไม่สนใจที่จะหันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน 2) ระดับพฤติกรรมการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของ สมาชิกบนเครือข่ายออนไลน์เกี่ยวกับการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และพบ ความแตกต่างกันระหว่างเครือข่ายออนไลน์2 รูปแบบ คือเว็บไซต์แบบเว็บบอร์ดที่การมีส่วนร่วมส่วน ใหญ่เป็นการแสดงความคิดเห็น กับเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ส่วนใหญ่เป็นเพียงการแสดงตัวว่ามีการรับรู้ข้อมูล ด้วยการกดถูกใจ 3) ลักษณะการเชื่อมโยงและรูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายออนไลน์เกี่ยวกับการใช้ จักรยานในชีวิตประจำวัน มีลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบบุคคลต่อบุคคล และมีรูปแบบการสื่อสาร เครือข่ายแบบกระจายอ านาจแบบทุกช่องทาง แต่ในขณะเดียวกันก็มีรูปแบบการสื่อสารเครือข่ายแบบมี ศูนย์กลางแบบวงล้อ โดยมีผู้ดูแลของเครือข่ายท าหน้าที่คัดกรองเนื้อหาที่สามารถปรากฏอยู่บนพื้นที่ สาธารณะ
ผลการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม พบว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มตัวอย่างแบ่ง ออกเป็น 8 กลุ่ม สำหรับการเปิดรับข่าวสาร พบว่าสมาชิกนิยมเข้าใช้เฟซบุ๊กมากที่สุด ด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ พบว่า การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติ ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้จักรยาน และ รูปแบบการดำเนินชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้จักรยานเพื่อการเดินทางใน ชีวิตประจำวันของกลุ่มรักสุขภาพ แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับกลุ่มตามเทรนด์ตามกระแสและกลุ่มหัว ก้าวหน้า ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พบว่ามี3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทัศนคติ2) รูปแบบการด าเนินชีวิตของกลุ่มหัวก้าวหน้า และ 3) รูปแบบการ ดำเนินชีวิตของกลุ่มตามเทรนด์ตามกระแส

Subject(s):

การสื่อสาร -- กรุงเทพฯ -- สำรวจ

Keyword(s):

การเดินทาง -- ไทย -- กรุงเทพฯ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

218 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5789
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201073.pdf ( 4,321.79 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [151]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×