ความหมายและขอบเขตเรื่องความไม่สามารถรู้ผิดชอบและความไม่สามารถบังคับตนเองได้ ตามกฎหมายอาญา ศึกษากรณีของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต
by กิตติยา ชลอเดช
Title: | ความหมายและขอบเขตเรื่องความไม่สามารถรู้ผิดชอบและความไม่สามารถบังคับตนเองได้ ตามกฎหมายอาญา ศึกษากรณีของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต |
Other title(s): | Meaning and boundary of unconsciousness and unwillingness according to criminal law, a case study of patient with mental disorder |
Author(s): | กิตติยา ชลอเดช |
Advisor: | พัชรวรรณ นุชประยูร |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2015.13 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
จากการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ควบคู่ไปกับอาชญากรรมที่มีสาเหตุ มาจากความผิดปกติทางจิตของผู้กระทำความผิดที่มีมากขึ้นทุกปีจึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุง บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 65 ในเรื่องการใช้ถ้อยคำที่เรียกผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต เนื่องจาก บาง ถ้อยคำที่ใช้เรียกผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 นั้นมิใช่คำศัพท์ที่ใช้ กันในทางการแพทย์แต่อย่างใดเหล่านักกฎหมาย นักอาชญาวิทยา และนักจิตแพทย์จึงต้องพยายาม ตีความหมายโดยอาศัยความรู้ความชำนาญของตนซึ่งมีความแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นผลทำให้ บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ไม่สามารถใช้คุ้มครองผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตได้ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการบูรณาการแก้ไขปรับปรุง ปัญหาความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ดังกล่าว ที่มีปัญหามา อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ให้มีความชัดเจน และสามารถนำมาใช้คุ้มครองผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต ได้อย่างยุติธรรมถูกต้องตามเจตนารมณ์ของหลักกฎหมายดังกล่าวอย่างแท้จริง จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 มีความบกพร่องใน ประการสำคัญ ดังต่อไปนี้ ประการแรก ถ้อยคำที่ใช้เรียกผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ด้วยคำว่า “จิตบกพร่อง”“โรคจิต” หรือ “จิตฟั่นเฟือน” นี้จากการศึกษาพบว่า คำว่า “จิต บกพร่อง” และ “จิตฟั่นเฟือน”นี้ มิได้เป็นคำที่ใช้ในทางการแพทย์แต่อย่างใด ส่วนคำว่า “โรคจิต”นั้น แม้จะเป็นคำที่มีการใช้ในทางการแพทย์ก็ตาม แต่หากพิจารณาถึงลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคจิต ในทางการแพทย์ ก็จะพบว่า ยังมีโรคทางจิตเวชอื่นที่ผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรค จิตร่วมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น โรคจิตเภท พฤติกรรมแบบจิตเภท การหลงผิด และความผิดปกติชนิดจิตเภทแบบอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น ดังนั้นถ้อยคำที่ใช้เรียกผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตทั้งสามคำนี้ จึง เป็นถ้อยคำที่ยังไม่ชัดเจนเป็นปัญหาสร้างความสับสนแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาคดี ได้เป็นอย่างมาก ประการที่สอง ความหมายคำว่า “ไม่สามารถรู้ผิดชอบ” หรือ “ไม่สามารถบังคับตนเองได้” ที่เป็นหลักเกณฑ์สำคัญอีกประการหนึ่งในการพิจารณาว่าจำเลยที่มีความผิดปกติทางจิตจะสมควร ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 หรือไม่ จากการค้นหาความหมายทั้งสอง คำนี้ทำให้พบว่า ถ้อยคำดังกล่าวยังมีความสัมพันธ์กับโรคทางจิตเวชที่ได้ความคุ้มครองตามกฎหมาย ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ความหมายของ คำว่า “จิตบกพร่อง” ซึ่งก็คือ โรคปัญญาอ่อนหรือภาวะ ปัญญาอ่อน ตามความหมายทางการแพทย์ ที่ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องทางด้านเชาว์ปัญญาโรคทางจิต เวชดังกล่าวจึงสัมพันธ์กับเรื่องความสามารถในการรู้ผิดชอบชั่วดีได้นั่นเอง ประการที่สาม การให้คำอธิบายขอบเขตความไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับ ตนเองได้ในตำราคำอธิบายกฎหมายอาญาทั่ว ๆ ไปยังมีข้อมูลที่น้อยและตำราส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมี การอธิบายในเรื่องนี้ดังนั้น นักกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญด้าน พฤติกรรมความสามารถของจำเลยเช่น ดูการโต้ตอบสื่อสาร การจดจำรายละเอียดต่าง ๆ หรือ วางแผนได้หรือไม่ เป็นต้น มาใช้ในการพิจารณาซึ่งเมื่อศึกษาย้อนไปดูหลักความรับผิดทางอาญาของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตของกฎหมายต่างประเทศแล้วทำให้ทราบว่า การพิจารณาขอบเขตความไม่ สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ตามแนวคำพิพากษาศาลไทยในลักษณะดังกล่าวนี้มิได้ เป็นไปตามหลักของกฎหมายต่างประเทศแต่อย่างใด จากปัญหาความบกพร่องทั้งสามประการนี้ทำให้บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์เพื่อใช้คุ้มครองผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตได้อย่างยุติธรรมอย่างแท้จริงอีก ทั้ง การใช้มาตรการการลงโทษทางอาญาแก่ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต ก็ยังเป็นการซ้ำเติมตัวผู้ป่วย และขัดต่อวัตถุประสงค์ในการลงโทษ เนื่องจาก การใช้บทลงโทษทางอาญากับผู้ที่มีความผิดปกติทาง จิตดังกล่าว จะไม่สามารถแก้ไขฟื้นฟูตัวผู้กระทำความผิดที่มีความผิดปกติทางจิตได้นั่นเอง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | ผู้ป่วยจิตเวช
กฎหมายอาญา สุขภาพจิต |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 126 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5795 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|